ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ที่กระทรวงแรงงาน ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง(บอร์ดค่าจ้าง) กล่าวหลังประชุมบอร์ดค่าจ้าง ว่า ที่ประชุมมีมติในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำหลังจากนี้จะต้องขึ้นอยู่กับสภาพ เศรษฐกิจ สังคมและความสามารถในการจ่ายของนายจ้างแต่ละจังหวัด โดยไม่จำเป็นจะต้องมีอัตราเดียวกันทั่วประเทศ และยังมีมติให้เลื่อนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2559 ออกไปอีก 6 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย.2559 เนื่องจากปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอย และอัตราเงินเฟ้อติดลบ
นอกจากนี้ จากการสำรวจของกระทรวงแรงงานเกี่ยวกับค่าครองชีพของแรงงานเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค.2558 พบว่าค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ยังเพียงพอต่อการค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน โดยค่าใช้จ่ายตามอัตภาพคือค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นอยู่ที่วันละ 269 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายคุณภาพซึ่งรวมทั้งค่ากิจกรรมต่างๆ อยู่ที่วันละ 286 บาท
นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ ขึ้นมาศึกษาข้อมูลและแนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยให้เสนอข้อมูลต่อบอร์ดค่าจ้างภายในเดือน มิ.ย.2559 แต่ถ้าคณะอนุกรรมการฯพิจารณาข้อมูลแล้วเสร็จก่อนกำหนด บอร์ดค่าจ้างก็จะเร่งนำข้อมูลมาพิจารณา
ขณะที่นายอรรถยุทธ ลียะวณิช กรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า สภาพเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำมากว่า 2-3 ปีแล้ว และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าอนาคตจะตกต่ำลงไปกว่านี้หรือไม่ ซึ่งบอร์ดค่าจ้างฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างมีความเห็นตรงกันว่ายังไม่สมควร จะปรับขึ้นค่าจ้างในขณะนี้ เพื่อให้ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างอยู่ร่วมกันได้ ไม่ให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกันกับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ทั้งนี้การเลื่อนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำก็เพื่อรอดูสภาพเศรษฐกิจอีกครั้ง
ด้านนายสมบัติ น้อยหว้า กรรมการค่าจ้างฝ่ายลูกจ้าง กล่าวว่า ฝ่ายลูกจ้างเห็นด้วยกับการเลื่อนปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำปี 2559 โดยจากข้อมูลของอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างจังหวัด พบว่ามีเพียง 5 จังหวัดที่เสนอขอปรับขึ้นค่าจ้าง คือ พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา สระบุรี ภูเก็ต และสมุทรปราการ ส่วนที่เหลืออีกกว่า 70 จังหวัดไม่เสนอขอปรับขึ้นค่าจ้าง ซึ่งต้องพิจารณาถึงสาเหตุว่าจังหวัดที่ขอปรับและไม่ปรับเกิดจากอะไร อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่าการพิจารณาของอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างจังหวัดมี ความเป็นอิสระ ไม่มีการแทรกแซง
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...