ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงผลประชุมครม.ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวง รวม 5 ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ดังนี้
1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการหรือลูกจ้างที่ไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม พ.ศ. ....
2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดคุณสมบัติของบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทน พ.ศ. ....
3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพแก่ผู้ประกันตนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย พ.ศ. ....
4. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย พ.ศ. ....
5. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ....
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวง
1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการหรือลูกจ้างที่ไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม พ.ศ..
กำหนดให้ลูกจ้างของเนติบัณฑิตยสภา ลูกจ้างของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ลูกจ้างของสภากาชาดไทย ลูกจ้างของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปี และไม่มีลักษณะงานที่เป็นกิจการนอกเหนือกิจการดังกล่าวรวมอยู่ด้วย ลูกจ้างของนายจ้างที่จ้างไว้เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร หรือเป็นไปตามฤดูกาล ลูกจ้างของนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งงานที่ลูกจ้างทำนั้นมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย และลูกจ้างของนายจ้างซึ่งประกอบการค้าเร่หรือการค้าแผงลอย เป็นกิจการหรือลูกจ้างที่ไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกัน สังคม
2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดคุณสมบัติของบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทน พ.ศ. .... กำหนดคุณสมบัติของบุคคลซึ่งอาจสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับ ประโยชน์ทดแทน
3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพแก่ผู้ประกันตนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย พ.ศ. .... กำหนดให้ผู้ประกันตนซึ่งมีสัญชาติของประเทศที่ได้ทำความตกลงด้านการประกันสังคมกรณีชราภาพกับประเทศไทย ไม่ว่าจะมีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์หรือไม่ก็ตามให้มีสิทธิได้รับเงิน บำเหน็จชราภาพ และให้การจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
3.1 กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบต่ำกว่าสิบสองเดือนให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบเพื่อการจ่าย ประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ
3.2 กรณีที่มีการจ่ายเงิน สมทบตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพพร้อมผล ประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
4. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย พ.ศ. .... กำหนดให้ลูกจ้างผู้ประกันตนในกรณีว่างงานมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละห้าสิบของค่าจ้างรายวันโดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่มี เหตุสุดวิสัย อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย หรือธรณีพิบัติภัย ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันเกิดจากธรรมชาติ ซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชนและถึงขนาดผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติหรือผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้ หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ แต่ทั้งนี้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันโดยให้จ่ายเป็นรายเดือน และให้สำนักงานงดการจ่ายประโยชน์ทดแทนเมื่อผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนลาออกจากงาน สิ้นสุดสัญญาจ้าง หรือถูกเลิกจ้าง
5. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ....กำหนดให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย เดือนละสามสิบบาทให้แก่ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบในแต่ละเดือน และรัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเดือนละยี่สิบบาทให้แก่ผู้ประกันตนแต่ละรายที่จ่ายเงินสมทบในแต่ละเดือน
บ้านเมือง 17 พ.ย. 58
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...