ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
สนช.ผ่าน กม.กำลังสำรอง ให้อำนาจกองทัพสามารถเรียกเข้ารับราชการทหารได้ อาทิ กรณีภัยพิบัติ สงคราม ประกาศกฎอัยการศึก หากขัดขืนโทษจำคุกไม่เกิน 4ปี แต่หากหนีโดนขึ้นศาลทหาร
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธาน ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณา ร่างพ.ร.บ.กำลังพลสำรอง พ.ศ..... ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญมี พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร เป็นประธาน พิจารณาเสร็จแล้ว โดยร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว มีหลักการสำคัญเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม
โดยกำหนดประเภทบุคคลที่จะเป็นกำลังพลสำรอง ทั้งนี้ได้บัญญัติคำนิยาม”กำลังพลสำรอง”หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นกำลังสำรองประเภทที่ 1 ตามกฎหมายว่าด้วยการระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม
สำหรับบุคคลที่เข้าเป็นกำลังพลสำรองนั้น ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ได้กำหนดให้รับสมัครจากบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม คัดเลือกจากนายทหารสัญญาบัตรกองหนุน นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ นายทหารสัญญาบัตรนอกกอง โดยการเรียกกำลังพลสำรองให้กระทำได้ในกรณีจำเป็นเพื่อปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเป็นการเฉพาะ หรือเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติ การระดมพลให้กระทำได้ ในเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศกฎอัยการศึกหรือมีการรบหรือการสงคราม
ทั้งนี้ กำลังพลสำรองมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ค่าเบี้ยเลี้ยงฯ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด แต่หากผู้ใดหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่มาหรือมาแต่ไม่เข้ารับราชการทหาร ไม่ว่าเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เพื่อปฏิบัติราชการ หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมหรือในการระดมพล มีโทษปรับและจำคุกไม่เกิน 4 ปี แต่หากอยู่ไม่ครบกำหนดเวลาตามกำหนดในคำสั่งเรียก ถือว่ามีความผิดฐานหนีราชการและต้องโทษตามกฎหมายว่าด้วยอาญาทหาร
ทั้งนี้คณะกรรมาธิการฯมีข้อสังเกตว่า กรณีที่กำลังพลสำรองเป็นลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าจ้างในขณะที่เข้ารับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแต่หากประกอบอาชีพอิสระจะไม่มี สิทธิได้รับค่าตอบแทนดังนั้นควรมีการกำหนดสิทธิประโยชน์ให้กับบุคคลเหล่านี้ด้วย
หลังจากที่พิจารณาเรียงลำดับรายมาตราแล้วที่ประชุมสนช.ได้มีมติเห็นชอบในวาระ 3 ด้วยคะแนนเสียง 192 เสียง งดออกเสียง 4 ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ พล.อ.สิงห์ศึก ได้กล่าวขอบคุณสมาชิกว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2497 จนถึงปัจจุบันผ่านมา 61 ปี ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกำลังพลสำรอง ซึ่งประเทศไทยมีกำลังพลสำรองกว่า 12 ล้านคนแต่ใช้กลับกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้ เมื่อร่างพ.ร.บ.กำลังพลสำรองมีผลบังคับใช้ก็จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการเข้าเป็นกำลังพลสำรอง และความชัดเจนในสิทธิผลประโยชน์ต่างของกำลังพลสำรอง
มติชนออนไลน์ วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...