ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ อ่านข้อกำหนด click
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๔๙ วรรคสอง (๖) และมาตรา ๒๕๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๘ ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อกําหนดนี้เรียกว่า “ข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง พ.ศ. ๒๕๕๘”
ข้อ ๒ ข้อกําหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อกําหนดนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
“คําร้อง” หมายความว่า คําร้องขออนุญาตฎีกาตามมาตรา ๒๔๗
“ผู้ร้อง” หมายความว่า คู่ความผู้ยื่นคําร้อง
“ศาลชั้นต้น” หมายความว่า ศาลซึ่งมีคําพิพากษาหรือคําสั่งในชั้นต้น
“องค์คณะผู้พิพากษา” หมายความว่า องค์คณะผู้พิพากษาตามมาตรา ๒๔๘ ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ในการพิจารณาและวินิจฉัยคําร้อง
ข้อ ๔ ในกรณีจําเป็นต้องมีวิธีการใดในทางธุรการเพื่อให้การปฏิบัติตามข้อกําหนดนี้ เป็นไปโดยเรียบร้อย ให้เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้กําหนดวิธีการนั้น
ข้อ ๕ ให้ประธานศาลฎีการักษาการและมีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการ ปฏิบัติรวมทั้งออกระเบียบ ประกาศ คําสั่ง หรือคําแนะนําเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดนี้
หมวด ๑ การยื่นคําร้อง
ข้อ ๖ การขออนุญาตฎีกา ให้ยื่นคําร้องต่อศาลชั้นต้นโดยต้องแสดงถึง
(๑) ปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายที่ขออนุญาตฎีกาโดยชัดแจ้ง และ
(๒) ปัญหาที่ขออนุญาตฎีกานั้นเป็นปัญหาสําคัญดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔๙ หรือในข้อกําหนดนี้ซึ่งศาลฎีกาควรรับวินิจฉัย
ข้อ ๗ ผู้ร้องต้องยื่นคําร้องพร้อมกับคําฟ้องฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา และต้องนําเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคําพิพากษา หรือคําสั่งมาวางศาลพร้อมกับคําฟ้องฎีกานั้นด้วย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
ถ้าผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคําร้องพร้อมสํานวนความไปยังศาลฎีกากรณีเช่นว่านี้ ให้องค์คณะผู้พิพากษามีคําสั่งไม่รับคําร้องและไม่รับฎีกาโดยสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดหากมีให้แก่ผ้รู้อง
ข้อ ๘ ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจตรวจคําร้องและคําฟ้องฎีกาและมีคําสั่งตามมาตรา ๑๘ หากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคําสั่ง ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคําร้องและคําฟ้องฎีกาดังกล่าวพร้อมสํานวนความไปยังศาล ฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งต่อไป กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าองค์คณะผู้พิพากษาเห็นว่าคําสั่งของศาลชั้นต้นถูกต้อง ให้มีคําสั่งไม่รับคําร้องและไม่รับฎีกา หรือถ้าไม่มีคําร้องก็ให้สั่งไม่รับฎีกาและสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้ง หมด หากมี ให้แก่ผู้ร้อง
ขอ้ ๙ ในกรณีมีการขอขยายระยะเวลาใด ๆ เช่น การยื่นคําร้องหรือคําฟ้องฎีกาหรือการชําระหรือวางเงินตามข้อ ๗ หากศาลชั้นต้นเห็นสมควรอนุญาตให้ขยาย ให้ศาลชั้นต้นสั่งตามที่เห็นสมควร หากจะไม่อนุญาต ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคําร้องขอขยายระยะเวลาพร้อมสํานวนความไปยังศาลฎีกาเพื่อ พิจารณาสั่งโดยเร็วต่อไป
ข้อ ๑๐ เมื่อศาลชั้นต้นได้ตรวจคําร้องและคําฟ้องฎีกาตามข้อ ๘ แล้ว ให้รีบส่งสําเนาคําร้องและคําฟ้องฎีกานั้นให้คู่ความอีกฝ่ายแล้วส่งคําร้อง พร้อมคําฟ้องฎีกาและสํานวนความไปยังศาลฎีกาโดยเร็ว ทั้งนี้ ไม่จําต้องรอคําคัดค้านของคู่ความฝ่ายนั้น แต่ในกรณีที่คู่ความอีกฝ่ายได้ยื่นคําร้องขออนุญาตฎีกาด้วย ให้ศาลชั้นต้นดําเนินการเกี่ยวแก่คําร้องดังกล่าวให้เสร็จสิ้นเสียก่อน แล้วจึงส่งคําร้องและคําฟ้องฎีกาของคู่ความทุกฝ่ายไปยังศาลฎีกาในคราวเดียว กัน
ถ้ามีการยื่นคําคัดค้านภายหลังที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ก็ให้ส่งคําคัดค้านนั้นไปยังศาลฎีกาเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยใน กรณีที่มีการยื่นคําร้องขอทุเลาการบังคับคดีในระหว่างฎีกา ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคําร้องนั้นไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาและห้ามมิให้มีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องนั้นจนกว่าศาลฎีกาจะมีคําสั่งอนุญาตให้ฎีกา ทั้งนี้ ไม่กระทบถึงอํานาจในการสั่งงดการบังคับคดีหรือถอนการบังคับคดีตามที่บัญญัติ ไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
หมวด ๒ การพิจารณาวินิจฉัยคําร้อง การรับฎีกาและการแก้ฎีกา
ข้อ ๑๑ การขอแก้ไขคําร้องหรือคําฟ้องฎีกาให้กระทําได้ภายในกําหนดระยะเวลาตามมาตรา ๒๔๗ วรรคสองหรือตามที่ศาลมีคําสั่งให้ขยายออกไป
ข้อ ๑๒ การพิจารณาคําร้องตามมาตรา ๒๔๘ องค์คณะผู้พิพากษาพึงพิจารณาวินิจฉัยและมีคําสั่งให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้รับสํานวนหรือตามระเบียบของประธานศาลฎีกา
ข้อ ๑๓ ปัญหาสําคัญอื่นตามมาตรา ๒๔๙ วรรคสอง (๖) ได้แก่ กรณีดังต่อไปนี้
(๑) คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์มีความเห็นแย้งในสาระสําคัญ
(๒) คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายสําคัญที่ไม่สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันกับประเทศไทย
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่องค์คณะผู้พิพากษาเห็นว่า ปัญหาตามคําร้องทั้งหมดหรือบางข้อเป็นปัญหาสําคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย ให้มีคําสั่งอนุญาตให้ฎีกาและสั่งรับฎีกาทั้งหมดหรือบางข้อไว้พิจารณาแล้ว ส่งให้ศาลชั้นต้นอ่านคําสั่งดังกล่าวให้คู่ความฟังจําเลยฎีกาอาจยื่นคําแก้ ฎีกาต่อศาลชั้นต้นได้ภายในกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันฟังคําสั่ง
และภายใน กําหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จําเลยฎีกายื่นคําแก้ฎีกาหรือนับแต่ระยะเวลาที่ กําหนดไว้สําหรับการยื่นคําแก้ฎีกาได้สิ้นสุดลง ให้ศาลชั้นต้นส่งคําแก้ฎีกาไปยังศาลฎีกาหรือแจ้งให้ทราบว่าไม่มีคําแก้ฎีกา เมื่อศาลฎีกาได้รับคําแก้ฎีกาหรือแจ้งความเช่นว่าแล้ว ให้นําคดีลงสารบบความโดยพลันการขอขยายระยะเวลายื่นคําแก้ฎีกา ให้ยื่นภายในกําหนดระยะเวลาตามวรรคสอง และให้นําความในข้อ ๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่องค์คณะผู้พิพากษาเห็นว่า คําร้องมิได้ปฏิบัติตามข้อ ๖ หรือปัญหาตามคําร้องทั้งหมดมิใช่ปัญหาสําคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย ให้มีคําสั่งยกคําร้องและไม่รับฎีกาแล้วส่งสํานวนความคืนศาลชั้นต้นเพื่อ แจ้งให้คู่ความทราบโดยเร็ว คําสั่งที่ไม่อนุญาตตามวรรคหนึ่งให้แสดงเหตุผลโดยย่อและให้องค์คณะผู้ พิพากษามีอํานาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่ผู้ร้อง ได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่มีคู่ความหลายฝ่ายต่างยื่นคําร้อง ให้วินิจฉัยโดยทําเป็นคําสั่งฉบับเดียวกันก็ได้
หมวด ๓ การพิจารณาและพิพากษาคดีในศาลฎีกา
ข้อ ๑๗ องค์คณะผู้พิพากษาที่พิจารณาสั่งอนุญาตให้ฎีกาคดีใด อาจเป็นองค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาพิพากษาคดีนั้น
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘
วีระพล ตั้งสุวรรณ
ประธานศาลฎีกา
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...