ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ออก‘พ.ร.ก.ประมง’สุดเฮี้ยบ

เมื่อวันที่ 13 พฤษจิกายน 2558 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประมง พ.ศ.2558 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.ก.นี้ ระบุว่า

 

เนื่องจากพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2558 ยังขาดมาตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังการทำการประมงในน่านน้ำไทยและนอกน่านน้ำไทย และเพื่อป้องกันมิให้มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งยังขาดการบริหารจัดการการทำการประมงให้สอดคล้องกับการผลิตสูงสุดของ ธรรมชาติให้สามารถทำการประมงได้อย่างยั่งยืน

 

และหากไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน อาจมีผลกระทบต่อการประมงของไทย ดังนั้นเพื่อเพิ่มมาตรการในการควบคุม เฝ้าระวัง สืบค้นและตรวจสอบการประมง อันเป็นการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และกำหนดแนวทางในการอนุรักษ์และบริหารจัดการแหล่งทรัพยากรประมงและสัตว์น้ำ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นกรณีฉุกเฉินที่จำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษา ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.ก.นี้

 

สำหรับเนื้อหา พ.ร.ก.ดังกล่าวมีทั้งสิ้น 176 มาตรา จำนวน 12 หมวด ซึ่งสาระสำคัญได้กระจายตามหมวดต่างๆ เริ่มตั้งแต่หมวดบททั่วไป ในมาตรา 8 ที่ระบุว่า การกระทำความผิดตาม พ.ร.ก.นี้ หรือตามกฎหมายของรัฐชายฝั่ง หรือตามหลักเกณฑ์หรือมาตรการตามกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง หรือหลักเกณฑ์หรือมาตรการขององค์การระหว่างประเทศ บรรดาที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และบริหารจัดการการประมง

 

ไม่ว่าจะกระทำในน่านน้ำไทยหรือนอกน่านน้ำไทย และไม่ว่ากระทำโดยใช้เรือประมงไทย เรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย หรือเรือไร้สัญชาติ เป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักรและต้องรับโทษตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ก.นี้ และให้ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีได้

 

หากความผิดเกิดขึ้นนอกน่านน้ำไทย และการกระทำความผิดนั้นมิใช่เรือประมงไทยหรือผู้มีสัญชาติไทย ให้กระทำได้เมื่อได้รับแจ้งจากรัฐต่างประเทศที่การกระทำความผิดเกิดขึ้น หรือองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้นแล้วให้เป็น หน้าที่ของอธิบดีที่จะให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศหรือของ องค์การระหว่างประเทศในการดำเนินการเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.ก.นี้

 

ในขณะที่มาตรา 10 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เรือไร้สัญชาติทำการประมง และมาตรา 11 ห้ามมิให้โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับสัตว์น้ำ จ้างลูกจ้างโดยฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือจ้างคนต่างด้าวที่ ไม่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งหากตรวจพบลูกจ้างหรือคนงานที่ผิดกฎหมายไม่เกิน 5 คน อธิบดีมีคำสั่งให้หยุดประกอบกิจการโรงงานตั้งแต่ 10-30 วัน และหากพบว่ามีมากกว่า 5 คน อธิบดีแจ้งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อสั่งปิดโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานได้ โดยหากพบว่าโรงงานที่ถูกสั่งให้ปิดยังทำความผิดซ้ำอีกภายใน 3 ปี ก็สามารถให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานได้

 

ในหมวดที่ 2 เรื่องการบริหารจัดการด้านการประมงนั้น ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติในมาตรา 13 โดยมีนายกฯ เป็นประธาน ซึ่งมีหน้าที่กำหนดนโยบายและกำกับการบริหารจัดการการประมงต่างๆ ในขณะที่มาตรา 26 ก็กำหนดให้มีคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ

 

ส่วนหมวด 3 เรื่องการทำการประมงในน่านน้ำไทยนั้น มีเนื้อหาที่น่าสนใจตั้งแต่มาตรา 31 เป็นต้นไป

 

โดยเนื้อหาได้กำหนดให้ผู้ทำการประมงน้ำจืดในที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โดยใช้เครื่องมือทำการประมงตามที่อธิบดีประกาศกำหนด หรือแม้แต่เรือประมงพื้นบ้านก็ต้องได้รับใบอนุญาตก่อน ซึ่งจะมีการกำหนดจำนวนและประเภทเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตไว้ในใบ อนุญาตด้วย รวมทั้งต้องจัดทำสมุดบันทึกการทำการประมง ซึ่งจะต้องมีประเภทและปริมาณของสัตว์น้ำที่จับได้ให้ตรวจสอบได้ด้วย สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตทำประมงพาณิชย์นั้น จะกำหนดไม่ให้ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง โดยใบอนุญาตจะมีอายุ 2 ปี ซึ่งใบอนุญาตจะโอนมิได้ เว้นแต่เป็นการโอนให้บุพการี คู่สมรสหรือผู้สืบสันดานเท่านั้น

 

สำหรับการทำการประมงนอกน่านน้ำไทยนั้น กำหนดไว้ในหมวด 4 เริ่มตั้งแต่มาตรา 47

 

โดยได้กำหนดให้มีใบอนุญาตเช่นกัน แต่ที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือต้องมีผู้สังเกตการณ์ประจำอยู่ในเรือประมงด้วย และหากเกิดกรณีเรือประมงไทยหรือเป็นเจ้าของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย แต่ใช้ผู้ควบคุมเรือหรือคนประจำเรือหรือมีผู้โดยสารเป็นผู้มีสัญชาติไทยทำประมงนอกน่านน้ำไทยจนเป็นละเมิดกฎหมายของรัฐต่างประเทศ และทำให้ผู้ควบคุมเรือคนประจำเรือ หรือผู้โดยสารซึ่งไปกับเรือประมงต้องตกค้างอยู่ในต่างประเทศ มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าใช้จ่ายที่รัฐได้จ่ายไปในการนำบุคคลดังกล่าว กลับประเทศภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ซึ่งหากเจ้าของเรือประมงไม่ชดใช้ค่าใช้จ่ายภายในกำหนดเวลา กรมประมงก็มีอำนาจยึดเรือประมงและนำออกขายทอดตลาดได้

 

หมวด 5 จะเป็นเรื่องมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทาง ธรรมชาติและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศไว้อย่างยั่งยืน โดยระบุไม่ให้ใช้ไฟฟ้า หรือวัตถุระเบิดจับสัตว์น้ำ รวมทั้งห้ามมิให้ผู้ใดครอบครองสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่เกิดจากกรณี ดังกล่าวด้วย นอกจากนั้นยังมีการคงเรื่องของเครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ห้ามใช้ตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เคยออกประกาศไว้ด้วย

 

ส่วนหมวด 6 นั้นเป็นเรื่องของการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หมวดที่ 7 การควบคุม เฝ้าระวัง สืบค้น และตรวจสอบ ซึ่งมีการกำหนดไว้อย่างเข้มงวดตั้งแต่เรือประมง จนถึงท่าเทียบเรือ โดยเรือประมงนั้นต้องมีการติดตั้งระบบติดตามเรือ สมุดบันทึกการประมง รวมถึงการแจ้งเข้า-ออกท่าเทียบเรือ หมวดที่ 8 ว่าด้วยเรื่องสุขภาพอนามัยของสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ หมวด 9 ว่าด้วยเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ หมวดที่ 10 มาตรการทางปกครอง และหมวดที่ 11 บทกำหนดลงโทษ ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกันในเรื่องของการบทลงโทษต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่มาตรา 110 เป็นต้นไป

 

สำหรับบทลงโทษที่น่าสนใจนั้น ระบุไว้ตั้งแต่มาตรา 122 เป็นต้นไป โดยเฉพาะในเรื่องใช้เรือไร้สัญชาติในการทำประมง ซึ่งจะมีโทษเปรียบเทียบปรับตามขนาดของเรือ โดยโทษสูงสุดนั้นเป็นเรือ 150 ตันกรอสจะมีโทษปรับ 5-30 ล้านบาท หรือปรับจำนวน 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่จับได้ ขึ้นกับจำนวนที่มากกว่า ส่วนกรณีจ้างแรงงานผิดกฎหมายนั้นก็จะมีโทษปรับไม่น้อยกว่า 4-8 แสนบาทต่อราย

 

ในขณะที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานนั้น หากเกิดกรณีเดียวกันนอกจากปรับ 2 แสนบาทถึง 2 ล้านบาท แล้วยังมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละ 1-5 แสนบาทตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน

 

บทลงโทษดังกล่าวยังมีการระบุเป็นรายมาตราครอบคลุมไปถึงประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ด้วย ที่น่าสนใจคือในมาตรา 167 กำหนดไว้ว่า หากมีการกระทำผิดที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างร้ายแรงซ้ำภายใน 5 ปี อัตราโทษตามที่กำหนดไว้ในแต่ละมาตราให้เพิ่มเป็น 2 เท่า

 

ในบทเฉพาะกาล มาตรา 174 ระบุว่า ผู้ใดทำการประมงโดยใช้เรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่ 10 ตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึง 15 ตันกรอส และได้จดทะเบียนเป็นเรือสำหรับการประมง และได้รับอาชญาบัตรอยู่ในวันก่อน พ.ร.ก.ใช้บังคับ อธิบดีจะอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้านต่อไปจนกว่าจะเลิกทำการประมงก็ได้

 

ส่วนมาตรา 175 ผู้ใดทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่น ดินอยู่ในวันก่อนวันที่ พ.ร.ก.นี้ใช้บังคับ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายใน 180 วันนับแต่วันที่ พ.ร.ก.ใช้บังคับ ในขณะที่มาตรา 176 ให้กรมประมงจัดให้มีการขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นให้แล้วเสร็จภาย ใน 30 วัน นับแต่วันที่ พ.ร.ก.ใช้บังคับ

 

ในตอนท้ายของ พ.ร.ก.ฉบับนี้ได้กำหนดอัตราค่าอากรใบอนุญาตและอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ อาทิ เครื่องมือทำการประมง, ใบอนุญาตทำการประมง และใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นต้น

 

ไทยโพสต์ 14 พฤศจิกายน 2558



02/Dec/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา