ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

รู้จักทนายความด้าน Notarial Services Attorney

หลายๆคนอาจจะสงสัยว่า Notarial Services Attorney คือใครและมีหน้าที่ทำอะไร ? และทำหน้าที่ต่างกับ Notary Public หรือไม่ ? และจะหาบุคคลที่ทำหน้าที่ Notarial Services Attorney ในประเทศไทยได้ที่ไหน?

 

คำตอบก็คือ Notarial Services Attorney คือ ทนายความที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความแห่งประเทศไทยให้ทำหน้าที่รับรองลายมือชื่อที่มีการลงชื่อต่อหน้าในเอกสารนั้นๆ หรือรับรองสำเนาเอกสารเช่นว่านั้นว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงจากต้นฉบับ หรือทำคำรับรองประเภทอื่นๆ รวมทั้งการลงชื่อในฐานะเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านั้นด้วย         

 

ทั้งนี้ โดยส่วนมากแล้วจะนำเอกสารเหล่านั้นไปใช้ในต่างประเทศหรือใช้ที่สถานทูตต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เป็นต้น

 

ดังนั้น การทำหน้าที่ของ Notarial Services Attorney จึงไม่แตกต่างไปจากการทำหน้าที่ของ Notary Public ในต่างประเทศ แต่อย่างใด

 

ในปี พ.ศ. 2546 สภาทนายความแห่งประเทศไทย( Lawyers Council of Thailand ) ได้บัญญัติข้อกำหนดว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ปี พ.ศ. 2546 และได้เปิดการอบรมหลักสูตรการรับรองลายมือชื่อและเอกสารให้แก่ทนายความที่ต้องการทำหน้าที่ดังกล่าว พร้อมทั้งออกใบอนุญาตให้แก่ทนายความที่สอบผ่านการอบรมในหลักสูตรดังกล่าว

 

เพื่อให้ทนายความผู้นั้นทำหน้าที่อีกสถานะหนึ่งก็คือ เป็นทนายความที่มีอำนาจหน้าที่ในการรับรองลายมือชื่อและเอกสารหรือทำคำรับรอง อื่นๆให้แก่ภาคเอกชนโดยทั่วไป อันสืบเนื่องมาจากการเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไม่สามารถให้การรับรองลายมือชื่อ หรือเอกสารในทางการค้าบางประเภทให้แก่บุคคลทั่วๆไปได้

 

ดังนั้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา สภาทนายความแห่งประเทศไทย จึงได้มีการให้บริการอย่างโนตารี่ (Notary Services) โดยนักกฎหมายที่เรียกกันว่า Notarial Services Attorney ซึ่งเป็นทนายความที่ได้ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความแห่งประเทศไทยเท่านั้น

 

สำหรับทนายความทั่วๆไปที่ไม่มีใบอนุญาตในการทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร จึงไม่เรียกว่าเป็น Notarial Services Attorney

 

Notarial Services Attorney มีหน้าที่อะไร


*รับรองคำแปลเอกสาร/certified true translation

*รับรองลายมือชื่อในเอกสาร/certified true signature/applicant declaration notary public

*รับรองสำเนาเอกสาร/certified true copy

*รับรองนิติกรรมที่เอกชนทำขึ้น

*รับรองตัวบุคคล

*รับรองข้อเท็จจริง

*จัดทำคำสาบาน

*รับรองความมีอยู่ของเอกสาร

*ทำคำคัดค้านตราสาร

*จัดทำบันทึกคำให้การ/Affidavit notary public

*ทำหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด

 

Notarial Services Attorney ในประเทศไทยจะเป็นผู้ที่เข้ามารับรองความถูกต้องของหนังสือมอบอำนาจและรับรองลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจให้ด้วยใจ แม้ว่าเอกสารนั้นตนอาจจะไม่ได้มีส่วนทำขึ้น และไม่ได้ลงนามต่อหน้าตนเองก็ตาม

 

ตัวอย่างเช่น คนญี่ปุ่นมีความต้องการที่จะขายบ้าน แต่ตนเองอยู่ในประเทศไทย โดยต้องการที่จะมอบอำนาจให้ทนายความของตนที่ประเทศญี่ปุ่นจัดการให้และลงนามในหนังสือมอบอำนาจ เช่นนี้ ทางฝ่ายผู้ซื้อจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ผู้ขายได้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจนั้นจริง เป็นผู้ขายที่แท้จริงและลงนามในหนังสือมอบอำนาจจริง

 

กรณีเช่นนี้ในต่างประเทศหลายๆประเทศมักมีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยโนตารี พับลิค Notary Public กำหนดอำนาจหน้าที่ ลักษณะงานที่จะต้องทำโดยโนตารี พับลิค ค่าธรรมเนียมเรียกเก็บ รวมถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นโนตารี พับลิค ข้อบังคับ จรรยาบรรณ และบทลงโทษไว้ด้วย


สำหรับประเทศไทยเรานั้น เดิมเราไม่มีกฎหมายว่าด้วยโนตารี พับลิค ดังนั้นจึงเกิดการติดขัดขัดข้องในการทำนิติกรรมของคนไทย ในต่างประเทศเสมอมา ทุกครั้งที่ต่างประเทศเรียกร้องให้โนตารี พับลิคในประเทศไทยทำการรับรองเอกสารหรือขอให้นำเอกสารไปลงนามต่อหน้าโนตารี พับลิค ก่อน ที่จะส่งไปใช้ต่างประเทศ

 

ฝ่ายไทยจะต้องชี้แจงว่าประเทศไทยยังไม่มีโนตารี พับลิค และเมื่อชี้แจงเช่นนี้ ทางต่างประเทศมักจะขอให้นำเอกสารไปลงนามต่อหน้าทนายความ หรือให้ทนายความรับรองแทน เหตุผลที่ทางต่างประเทศให้ทนายความไทยทำหน้าที่แทนโนตารี พับลิค ก็เพราะเขาให้ความเชื่อถือในวิชาชีพทนายความ ซึ่งทนายความไทยก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารด้วยดีตลอดมา


เนื่องจากเกิดความขัดข้องในการดำเนินธุรกิจ และการทำนิติกรรมของประชาชนที่กล่าวมาข้างต้น สภาทนายความได้หาวิธีแก้ปัญหานี้ให้แก่ประชาชน ด้วยความเชื่อที่ว่างานใดที่เอกชนทำได้ รัฐก็ไม่ควรจะทำ ควรปล่อยให้เอกชนทำดีกว่า งานรับรองเอกสารและงานรับรองลายมือชื่อเป็นงานที่ควรจะทำโดยทนายความ เพราะเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจยอมรับว่าเป็นผู้รู้กฎหมายและเป็นผู้ที่ประพฤติตนอยู่ในกรอบกฎหมาย อีกทั้งยังมีกรอบข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความบีบบังคับทนายความอีกชั้นหนึ่งด้วย


สภาทนายความได้จัดตั้งสำนักงานทะเบียนแบบการรับรองลายมือชื่อและเอกสาร เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 และต่อมาได้มีข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ.2551 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 3 ง เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2552 ซึ่งให้อำนาจสภาทนายความในการจัดให้มีการอบรมให้แก่ผู้ที่เป็นทนายความให้มีความรู้เรื่องในการทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร และเรียนรู้งานโนตารี พับลิคที่ทำต่างประเทศ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานในประเทศไทย

 

รวมทั้งอบรมเรื่องมรรยาทในการทำหน้าที่ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร และได้จัดทำดวงตราและวุฒิบัตรมอบให้แก่ผู้ที่ผ่านการอบรมด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ทนายความผู้ที่ผ่านการอบรมได้นำไปใช้ในการทำคำรับรองของตนและให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยใช้ชื่อว่า Notarial Services Attorney ซึ่งทำหน้าที่บันทึกและรับรองเอกสาร นิติกรรม ข้อเท็จจริง และบุคคลเช่นเดียวกับ Notary Public

 

 

ข้อมูลจากบทนำอบรมทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร อาจารย์อนงค์พร ธนชัยอารีย์



12/Dec/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา