ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ยังมีข้อจำกัดหลายประการที่ไม่สามารถนำไปสู่การรวมตัวและเจรจาต่อรองร่วมของสหภาพแรงงานได้จริง มีรายละเอียดต่อไปนี้
(1) ผู้มีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานและเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน
ขัดกับหลักการเรื่องการจัดตั้งองค์กรโดยเสรีและปราศจากการเลือกปฏิบัติ เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่า
(2) หลักเกณฑ์การจัดตั้งสหภาพแรงงานและการดำเนินงาน
ขัดกับหลักการเรื่องเจ้าหน้าที่ต้องละเว้นการแทรกแซงใดๆ หรือขัดขวางการบริหารงาน การดำเนินกิจกรรมขององค์กรคนงาน เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่า
(3) สิทธิการรวมตัวเป็นสหพันธ์แรงงาน
ขัดกับหลักการเรื่ององค์กรคนงาน มีสิทธิก่อตั้งและเข้าร่วมสหพันธ์และสมาพันธ์ได้โดยเสรี เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่า
(4) จำนวนสหภาพแรงงานในสถานประกอบการเดียวกัน
ขัดกับหลักการเรื่องสิทธิการรวมตัวอย่างเสรีของคนทำงาน เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่า
(5) การห้ามลูกจ้างเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
ขัดกับหลักการเรื่องการรวมตัวอย่างเสรีของคนทำงาน โดยไม่ถูกจำกัดสิทธิ เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่า
(6) การเลือกที่ปรึกษาของสหภาพแรงงาน
ขัดกับหลักการเรื่องสิทธิในการบริหารงานของสหภาพแรงงานโดยไม่ถูกแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่า
(7) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธินัดหยุดงาน
ขัดกับหลักการเรื่องเจ้าหน้าที่รัฐต้องละเว้นการแทรกแซงใดๆ หรือขัดขวางการดำเนินกิจกรรมของสหภาพ เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่า
(8) การคุ้มครองผู้จัดตั้งสหภาพแรงงานและการรวมตัวต่อรอง
ขัดกับหลักการเรื่ององค์กรของคนทำงานต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเพียงพอจากการกระทำที่เป็นการเลือกปฏิบัติ หรือไม่ถูกแทรกแซงขัดขวางจากนายจ้าง เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่า
จากบทบัญญัติของกฎหมายที่ล้าหลังจึงเป็นภาพสะท้อนสำคัญของสถานการณ์ด้านแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทยอีก 10 ประการ ที่พบว่า
(1) เมื่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ยังคงติดอยู่กับกรอบคิดแบบ “นายกับบ่าว” จึงทำให้ไม่สามารถเป็นกติกาที่ส่งเสริมให้คนงานที่อ่อนแอกว่า สามารถรวมตัวกันให้เข้มแข็งเพื่อมีอำนาจต่อรองมากขึ้น อันจะทำให้เกิดการทำงานอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกับฝ่ายนายจ้างที่เข้มแข็งกว่าได้ เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานไม่ครอบคลุมข้าราชการพลเรือน กลุ่มแรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ หรือกลุ่มวิชาชีพต่างๆ กฎหมายได้กีดกันคนงานจำนวนมากไม่ให้ได้รับการคุ้มครอง เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ถูกร่างในยุคสมัยที่เราต้องการเอาใจฝ่ายนายทุน นักลงทุน พยายามเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายนายจ้าง
(2) สิทธิพื้นฐานสำคัญของแรงงาน คือ สิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรองร่วม ไม่ได้รับการคุ้มครองและปกป้องอย่างจริงจัง ส่งผลให้คนงานไม่สามารถเข้าถึงสิทธินี้ได้จริง ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้ใช้แรงงานเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในลำดับรั้งท้ายของโลก เช่น นายจ้างมักเลิกจ้างลูกจ้างที่พยายามทำการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ในบางกรณีก็ถูกเลิกจ้างขณะทำการจดทะเบียนสหภาพ (ดังนั้นจึงไม่ได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายในเรื่องการเลือกปฏิบัติเพื่อต่อต้านสหภาพแรงงาน) ในหลายๆกรณีนายจ้างกลบเกลื่อนการเลิกจ้างว่าไม่ใช่เป็นเพราะสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงาน บทลงโทษในการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมมีบทลงโทษขนาดเบาเกินไปที่จะทำให้นายจ้างเกิดความเกรงกลัว
(3) ลูกจ้างต้องเจรจาขอลาหยุดเพื่อทำกิจกรรมสหภาพ ทำให้นายจ้างกลั่นแกล้งได้ง่ายขึ้น เจ้าของโรงงานอาจบอกให้ฝ่ายบริหารไม่อนุญาตให้กรรมการสหภาพทำงานล่วงเวลา การกระทำเช่นนี้ส่งผลต่อสถานะทางเศรษฐกิจต่อผู้นำสหภาพแรงงานและไปบั่นทอนกำลังใจให้ผู้นำสหภาพแรงงานไม่อยากทำงานให้สหภาพแรงงาน
(4) กฎหมายไม่ได้สร้างหลักเกณฑ์ที่จะให้คนงานได้มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจต่าง ๆ อย่างแท้จริง ทั้ง ๆ ที่ในโลกสมัยใหม่ถือกันว่า คนงานกับนายจ้างคือ “หุ้นส่วนทางสังคม” ที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วยกัน
(5) บริษัทใช้ความได้เปรียบจากช่องว่างทางกฎหมายเพื่อจัดตั้งสหภาพเล็กๆหลายสหภาพเพื่อบั่นทอนสิทธิในการเลือกตั้งของสหภาพที่ตั้งขึ้นมาโดยสุจริต เพราะในการเลือกตั้งคณะกรรมการแรงงานไตรภาคี สหภาพแรงงานไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่มีสิทธิออกเสียงได้หนึ่งเสียงเท่ากัน
(6) วิธีการหนึ่งที่นายจ้างจะหลีกเลี่ยงการให้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานก็คือ การใช้แรงงานผ่านบริษัทรับเหมาช่วงแรงงานในการจัดส่งแรงงานให้กับโรงงานต่างๆ ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้น ระหว่างเหล่าบรรดานายจ้าง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้า อุตสาหกรรมภาคยานยนต์ พลาสติก โลหะ และอิเลคทรอนิคส์
(7) ความลำเอียงของกระทรวงแรงงานในการขัดขวางการจัดตั้งสหภาพแบบประเภทอุตสาหกรรม โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้องมักจะส่งเสริมเฉพาะสหภาพในสถานประกอบการเท่านั้น โดยอ้างว่าการจดทะเบียนสหภาพแบบประเภทอุตสาหกรรมมีขั้นตอนที่ยาวนาน มีการประวิงเวลาให้ล่าช้าและขัดขวางการเปลี่ยนประเภทของสหภาพแรงงาน
(8) มีการใช้บทบัญญัติทางกฎหมายในทางมิชอบเพื่อกีดกันนักสหภาพแรงงาน โดยเฉพาะการใช้มาตรา 75 แห่งพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อย่างมิชอบอยู่บ่อยครั้ง เพราะตามความในมาตรานี้ นายจ้างสามารถหยุดการปฏิบัติงานชั่วคราวทั้งหมดหรือบางส่วนด้วยสาเหตุใดก็ได้ที่ไม่ใช่ “เหตุสุดวิสัย” ตราบใดที่นายจ้างยังจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างอย่างน้อยร้อยละ 50 ของค่าจ้างเต็มวันในช่วงเวลานั้น พบว่านายจ้างใช้บทบัญญัตินี้ในการบังคับให้สมาชิกสหภาพออกจากโรงงานด้วยค่าจ้างเพียงครึ่งเดียวโดยไม่มีกำหนด การกระทำเช่นนี้ก็เท่ากับว่าเป็นการบังคับให้ลูกจ้างเหล่านี้ออกจากโรงงานไปโดยปริยาย
(9) คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของรัฐ (BOI) ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ผ่านรูปแบบการส่งเสริมให้มีการกระจายฐานการผลิตไปยังแถบชายแดนที่มีไม่มีสหภาพแรงงาน และเป็นพื้นที่ที่โรงงานสามารถใช้แรงงานข้ามชาติอย่างถูกกฎหมายจากพม่า ลาว กัมพูชา ซึ่งตามกฎหมายแรงงานกลุ่มนี้ไม่สามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานได้อยู่แล้ว
(10) กระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานและกลไกศาลแรงงานขาดประสิทธิภาพ กรอบคิดและวิธีปฏิบัติในการไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งด้านแรงงานหรือคดีแรงงานขาดหลักประกันในสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน ศาลแรงงานมีหน้าที่หาข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเพื่อวินิจฉัยข้อกฎหมายหรือแก้ไขปัญหา มิใช่ไกล่เกลี่ยโดยไม่คำนึงข้อเท็จจริง และประนีประนอมเพื่อลดภาระคดีในทางศาล
ดังนั้นโดยสรุปจึงเห็นชัดเจนว่ากฎหมายฉบับนี้มีบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง มีการแทรกแซงการรวมตัวและเจรจาต่อรองโดยรัฐ ปราศจากความเป็นอิสระ คนงานไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ อันจะส่งผลให้การรวมตัวของคนงานยากขึ้น และทำให้พลังในการเจรจาต่อรองมีน้อยลง จึงถือเป็นการลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ลง ขัดกับหลักการของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ยินยอมให้กระทำได้
บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์
ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
23 กรกฎาคม 2556
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...