ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ของขวัญปีใหม่ 2559 ผู้ใช้แรงงานมีเรื่องที่อยากขอให้รัฐบาลและกระทรวงแรงงานดำเนินการ คือ การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้มากกว่า 300 บาท ในอัตราเดียวกันทั่วประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่สูงขึ้น เพราะหากปรับขึ้นค่าจ้างในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน จะไม่เป็นธรรมและเกิดความไม่เท่าเทียมกัน นอกจากนี้ขอให้สถานประกอบการจัดทำโครงสร้างค่าจ้าง โดยยึดตามอายุและประสบการณ์ของผู้ใช้แรงงาน อีกทั้งขอให้ช่วยแก้ปัญหากรณีแรงงานถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมและข้อพิพาท ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในสถานประกอบการต่างๆ ที่มีปัญหาให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว และขอให้ดำเนินการจัดตั้งธนาคารแรงงาน เพื่อให้แรงงานมีเงินกู้ไว้ใช้จ่ายยามจำเป็น ส่งเสริมการออมเงิน เพราะหากให้แรงงานไปกู้เงินนอกระบบ ก็จะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูง หากดำเนินการเรื่องนี้ได้จะยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานให้ดีขึ้น
น.ส.วิไลวรรณ กล่าวอีกว่า ในส่วนของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) นั้น จะขอให้เร่งรัดดำเนินการปฏิรูป สปส.เป็นองค์กรอิสระ มีการบริหารงานด้วยผู้บริหารมืออาชีพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมทั้งเร่งออกกฎหมายลูกตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 ให้ครบทุกฉบับและออกกฎหมายให้ลูกจ้างทำงานบ้านสามารถเข้าสู่ประกันสังคม มาตรา 33 เพื่อให้ได้รับความคุ้มครอง
ทางด้าน น.ส.สุจิน รุ่งสว่าง ประธานศูนย์ประสานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ กล่าวว่า ปีใหม่ 2559 กลุ่มผู้ใช้แรงงานนอกระบบอยากให้รัฐบาลเพิ่มสิทธิและขยายสิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ทั้ง 6 กรณีสิทธิประโยชน์ให้ใกล้เคียงกับผู้ประกันตน มาตรา 33 ส่งเสริมอาชีพ รายได้ของผู้ใช้แรงงานนอกระบบให้มีความมั่นคง โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด ควรส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงานนอกระบบมีการประกอบอาชีพเดียว และเป็นไปอย่างครบวงจร ตั้งแต่การใช้วัตถุดิบ การผลิตในพื้นที่ และรัฐบาลเข้าไปช่วยสนับสนุนในเรื่องการตลาดทั้งในและต่างประเทศ
น.ส.สุจินกล่าวอีกว่า นอกจากนี้อยากให้รัฐบาลดูแลความปลอดภัยในการทำงานของผู้ใช้แรงงานนอกระบบ โดยนำเรื่องนี้เข้าไปอยู่ในแผนงานของโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานนอกระบบที่บาดเจ็บและป่วยจากการทำงานสามารถใช้สิทธิ บัตรทองได้ รวมทั้งขอให้จัดทำร่างกฎหมายคุ้มครองแรงงานนอกระบบ โดยกำหนดให้ได้รับความคุ้มครองตั้งแต่เรื่องของอาชีพ รายได้ ความมั่นคง และความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานนอกระบบกว่า 20 ล้านคน มีหลักประกันในชีวิต
ที่มา นสพ.มติชนรายวัน
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...