ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2559 ราชกิจจานุเบกษาได้มีการประกาศระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ในคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2558 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2559 เป็นต้นไป
ระเบียบฉบับนี้มีความแตกต่างจากระเบียบฉบับเดิมอย่างสิ้นเชิง ที่เดิมนั้น กระทรวงแรงงานได้ใช้ระเบียบที่เรียกว่า ระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยแนวทางและวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนฝ่าย นายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี พ.ศ. 2551
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด คือ
ในข้อ 5 ได้ระบุไว้ว่า การได้มาซึ่งกรรมการฝ่ายนายจ้างและกรรมการฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการแรงงาน สัมพันธ์ ให้อธิบดีแจ้งให้สภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยแรง งานสัมพันธ์เสนอชื่อผู้สมัคร สภาละสองคน เพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการฝ่ายนายจ้างและกรรมการฝ่ายลูกจ้าง เพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือก พิจารณาเพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานพิจารณาแต่งตั้งต่อไป
ทั้งนี้คุณสมบัติหนึ่งที่สำคัญของผู้ที่จะสมัครได้ คือ ต้องเป็นหรือเคยเป็นกรรมการสภาองค์การนายจ้างหรือสภาองค์การลูกจ้าง มาก่อน ไม่ใช่บุคคลใดจะสมัครก็ได้
กระบวนการคัดเลือกได้ระบุไว้ในข้อ 7 ว่า ให้อธิบดีนัดประชุมผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ เพื่อเลือกกันเองให้ได้จำนวนสองเท่าของจำนวนกรรมการฝ่ายนายจ้างและกรรมการ ฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ครบวาระ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาตามจำนวนคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ ครบวาระต่อไป
คณะกรรมการคัดเลือก ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงแรงงาน , หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านประกันความมั่นคงในการทำงาน เป็นประธานกรรมการ , อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นรองประธานกรรมการ , ผู้อำนวยการกองนิติการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, ผู้อำนวยการกลุ่มงานทะเบียนกลาง สำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, ผู้อำนวยการกลุ่มงานกฎหมาย สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นกรรมการ , ผู้อำนวยการสำนักแรงงานสัมพันธ์ สำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นกรรมการและเลขานุการและผู้อำนวยการกลุ่มงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ สำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ทั้งนี้ที่ผ่านมาโดยตลอดนั้น กระบวนการได้มาซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์นั้น ถูกระบุไว้ในข้อ 6 ในระเบียบฯฉบับ 2551 ว่า
ข้อ 6 ให้อธิบดีแจ้งให้สมาคมนายจ้างและสหภาพแรงงานในเขตภาคต่าง ๆ เสนอชื่อผู้แทนฝ่ายตนที่จะสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเพื่อเป็นผู้แทนฝ่ายนาย จ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคีแล้วแต่กรณีได้ไม่เกินองค์กรละ หนึ่งคน
สมาคมนายจ้าง และสหภาพแรงงานจะเสนอชื่อผู้แทนตามวรรคหนึ่งได้คนละไม่เกินสองคณะ
ข้อ 7 ในเขตภาคใดหากไม่มีสมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานซึ่งจดทะเบียนที่ตั้งสำนัก งานไว้ แต่มีสถานประกอบกิจการ ให้อธิบดีแจ้งให้นายจ้างและคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการส่งผู้แทน ฝ่ายตนแห่งละหนึ่งคนเพื่อเสนอชื่อผู้แทนสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็น กรรมการไตรภาคี แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้กระบวนการได้มา คือ การเลือกตั้ง ไม่ใช่การสรรหาและคัดเลือกกันเองตามระเบียบฯฉบับใหม่ 2558
โดยให้สมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน แจ้งชื่อผู้ลงคะแนนเลือกตั้งแห่งละหนึ่งคน ซึ่งต้องเป็นกรรมการสมาคมนายจ้าง หรือกรรมการสหภาพแรงงานนั้น แล้วแต่กรณี ต่ออธิบดีภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด ให้อธิบดีประกาศรายชื่อผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง ณ สถานที่ทำการเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตามตัวบทกฎหมาย ระเบียบฉบับนี้ไม่ได้ขัดแย้งใดๆเลยกับสิ่งที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 37 กำหนดไว้ว่า
ให้มีคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) เป็นคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อทำหน้าที่ด้านแรงงานสัมพันธ์ในการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานในกิจการสำคัญ และการวินิจฉัยคำร้องเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรม
ประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่าย คือ กรรมการกลางซึ่งรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ กรรมการฝ่ายนายจ้าง และ กรรมการฝ่ายลูกจ้าง ที่ผ่านมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มีคำสั่งแต่งตั้งกรรมการกลาง กรรมการ ฝ่ายนายจ้าง และกรรมการฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละเท่า ๆ กัน คือ ฝ่ายละ 5 คน รวม 15 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี
นั่นย่อมหมายความว่า รัฐมนตรีจะแต่งตั้งใครหรือผู้ใดเข้ามาก็ได้ตามดุลยพินิจ
อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่า ระเบียบฉบับนี้ยังขัดแย้งสิ้นเชิง กับกรอบความเห็นร่วมปฏิรูปประเทศไทย ที่จัดทำโดยกระทรวงกลาโหมโดยตรง สมัยที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศในช่วงเริ่มต้น เมื่อธันวาคม 2557 ว่า
“เสนอแนะให้มีการแก้ไขระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยแนวทางและวิธีการเพื่อให้ได้มา ซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี พ.ศ. 2551 ใน การได้มาของผู้แทนทั้งสามฝ่ายของระบบไตรภาคีใหม่ให้มีความเป็นธรรม โดยการพิจารณาระบบการออกเสียงเลือกตั้งในคณะกรรมการไตรภาคีทุกคณะ ควรคำนึงถึงสัดส่วนจานวนสมาชิกในองค์กร เพื่อสร้างความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายในการเลือกผู้แทน”
อ่านระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้ แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2558 ดูรายละเอียด
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...