ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สมาชิก สนช. ชง.กม.คุ้มครองเกษตร

31 ม.ค. 59 พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรมและการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วยสมาชิก สนช. อาทิ พล.อ.ดนัย มีชูเวท ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ นายกรรณภว์ ธนภรรคภวิน จำนวน 25 คน ได้ร่วมกันลงชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองระบบเกษตรพันธสัญญา หรือคอนแทรคฟาร์มมิ่ง โดยเป็นร่างกฎหมายใหม่ มีเนื้อหาจำนวน 26 มาตรา ซึ่งสาระสำคัญคือ เพื่อสร้างความเป็นธรรม และลดปัญหาให้กับเกษตรกรที่มีข้อตกลงกับผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งในการปลูกพืชผักหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมามักจะมีปัญหาว่ามีเมื่อเกษตรกรมีผลิตผลแล้วกลับไม่สามารถ จำหน่ายได้ เนื่องจากผู้ตกลงว่าจ้างปฏิเสธหรือบิดพลิ้ว โดยอ้างผลิตผลไม่ได้คุณภาพตามข้อตกลงว่าจ้าง ทำให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกร และถ้าหากมีการละเมิดระหว่างกันก็จะเป็นการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายตาม กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น ยังไม่มีกฎหมายรองรับโดยตรง

 

พล.อ.สิงห์ศึก กล่าวอีกว่า ดังนั้นร่าง พ.ร.บ.ที่พวกตนเสนอนี้จะทำให้นักธุรกิจเกิดความมั่นใจ ขณะที่เกษตรกรทั้งที่เลี้ยงสัตว์หรือปลูกพืชผักจะได้รับประโยชน์ โดยมี รมว.เกษตรและสหกรณ์ และ รมว.ยุติธรรม กำกับดูแล และหน่วยงานที่ดูแลการจดทะเบียนสัญญา มีแบบฟอร์มข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา ซึ่งผู้ประกอบการและเกษตรกรจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลง ที่สำคัญเป็นผลดีสำหรับเกษตรกรเพราะก่อนเริ่มงานผู้ประกอบธุรกิจจะต้องอบรม ให้เข้าใจ ซึ่งจะทำให้ได้รับความรู้ ความชำนาญ เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีและคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้กับเกษตรกรด้วย ผลพลอยได้คือทำให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคหรือใช้ผลิตผล ผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.นี้ในเริ่มแรกฝ่ายกฎหมายได้ตรวจสอบพบว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน จะต้องได้รับอนุมัติจาก ครม.ก่อน พวกตนจึงได้นำกลับมาแก้ไข และจะเสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สนช. ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาที่ประชุม สนช. ภายในเดือน ก.พ.นี้



01/Feb/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา