ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
กว่า 4 เดือนเต็มนับตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2558 ที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นำโดย ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะที่ได้ยกร่างขึ้นมา หลังจากนั้นทางคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ร่างรัฐธรรมนูญ มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง และเผยแพร่ต่อสาธารณะเมื่อ 29 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา ตามทราบแล้วนั้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 ได้มีจดหมายด่วนที่สุดเลขที่ รง 0204.4/5539 จากกระทรวงแรงงานถึงสำนักงานเลขาคณะรัฐมนตรี เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญ สาระสำคัญของจดหมายฉบับนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องของการเสนอความเห็นต่อร่างรัฐ ธรรมนูญในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงแรงงาน ต่อรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เพื่อพิจารณา ก่อนส่งให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญต่อไปนั้น
พบว่า กระทรวงแรงงานได้มีความเห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนี้ โดยระบุว่า เนื่องจากส่วนใหญ่ยังคงหลักการเดิมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
แต่ได้ขอแก้ไขถ้อยคำจากเดิมที่ระบุไว้ในมาตรา 70 ว่า “รัฐ พึงส่ง เสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการทำงานโดยเหมาะสมกับศักยภาพและวัย และพึงคุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความปลอดภัยในการทำงาน โดยได้รับสวัสดิการ รายได้ และสิทธิประโยชน์อื่นที่เหมาะสมแก่การดำรงชีพ และพึงจัดให้มีหรือส่งเสริมการออมเพื่อการดำรงชีพเมื่อพ้นวัยทำงาน”
ขอแก้ไขถ้อยคำใหม่เป็นดังนี้ “มาตรา 70 รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการทำงานโดยเหมาะสมกับศักยภาพและวัย และพึงคุ้มครองให้ได้รับความปลอดภัยในการทำงาน โดยได้รับสวัสดิการ รายได้ และสิทธิประโยชน์อื่นที่เหมาะสมแก่การดำรงชีพและเป็นธรรม รวมทั้งพึงจัดให้มีหรือส่งเสริมการออมเพื่อการดำรงชีพเมื่อพ้นภาวะการทำงาน”
โดยให้เหตุผลว่า (1) เพื่อให้ครอบคลุมภารกิจของกระทรวงแรงงานในทุกมิติทั้งแรงงานในระบบและนอก ระบบ (2) ในปัจจุบันประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุทำงานมากขึ้น จึงไม่ควรใช้คำว่า “วัยทำงาน”
อย่างไรก็ตามจากการทบทวนสาระสำคัญที่ปรากฏในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรือเรียกว่า “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย” พบว่า ยังคงมีประเด็นต่างๆที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับ 2540, ฉบับ 2550 และร่างรัฐธรรมนูญฉบับ สปช. ที่เกี่ยวข้องกับ “ผู้ใช้แรงงาน” โดยตรงอีก 5 ประเด็น ดังนี้
อ่านต่อทั้งหมดได้ที่นี่ click
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...