ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
กรมการจัดหางานเปิดให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่ถือบัตรอนุญาตทำงานชั่วคราว (บัตรสีชมพู) และอยู่ระหว่างการรอพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ อาศัยและทำงานอยู่ในประเทศไทยได้เป็นระยะเวลา ๒ ปี โดยนายจ้างนำแรงงานต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าวมาด้วยตนเองพร้อมใบอนุญาตทำงานบัตรสีชมพูมารายงานตัวตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน – ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เพื่ออนุญาตทำงานใหม่
นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาตเมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่ถือบัตรอนุญาตทำงานชั่วคราวหรือบัตรสีชมพู และอยู่ระหว่างการขอพิสูจน์สัญชาติจากประเทศต้นทางซึ่งจากเดิมจะครบกำหนดในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานอยู่ในประเทศไทยต่อได้เป็นระยะเวลา ๒ ปี ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑
โดยนายจ้างจะต้องนำแรงงานต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าวมาด้วยตนเองพร้อมใบอนุญาตทำงานชั่วคราวหมดอายุไปตรวจสุขภาพ ทำประกันสุขภาพและมารายงานตัวเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและขออนุญาตทำงาน (บัตรสีชมพู) ใหม่ภายในเวลา ๑๒๐ วัน ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน - ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ซึ่งใบอนุญาตทำงานใหม่นี้มีอายุ ๒ ปี
โดยแรงงานต่างด้าวในกลุ่มที่สามารถยื่นขอรับบัตรใหม่ ได้แก่
๑. กลุ่มที่จดทะเบียน (บัตรชมพู) ตามนโยบาย คสช. เมื่อปี ๒๕๕๗
๒. กลุ่มที่มีบัตรชมพูซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙
๓. ผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของแรงงานต่างด้าวที่อายุไม่เกิน ๑๘ ปี
๔. กลุ่มที่มีเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางชั่วคราว/เอกสารรับรองบุคคลของประเทศต้นทาง ๓ สัญชาติซึ่งกำลังจะหมดอายุ
ทั้งนี้ยกเว้นไม่รวมแรงงานต่างด้าวกลุ่มที่เข้ามาทำงานในรูปแบบ MOU และที่จดทะเบียนในกิจการประมงทะเล และแปรรูปสัตว์น้ำใน ๒ ระยะที่ผ่านมา
กรมการจัดหางานจึงขอประชาสัมพันธ์ให้นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าวต้องมารายงานตัวตามวัน เวลาที่กำหนด เนื่องจากระหว่างที่แรงงานต่างด้าวยังไม่มีใบอนุญาตทำงานนายจ้างจะจ้างแรงงานต่างด้าวทำงานไม่ได้ ซึ่งนายจ้างที่ลักลอบจ้างแรงงานต่างด้าวโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานจะมีความผิด ตามพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ มีความผิดปรับสูงสุดถึง ๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน
ส่วนแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบทํางานโดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิดจําคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับสูงสุดถึง ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ ๑-๑๐ หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. ๑๖๙๔
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...