ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

28 มีนาคม 2559 สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) รับทราบผลการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปตามมาตรา 31 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่องปฏิรูปการแรงงาน

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบ ผลการพิจารณาของกระทรวงแรงงานและกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง ตามข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปตามมาตรา 31 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่อง ปฏิรูปการแรงงาน  และต่อมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2559 สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ก็ได้รับทราบผลการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีฯดังกล่าวนั้น

 

ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2558 คณะรัฐมนตรีได้รับทราบข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปตามมาตรา 31 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่อง ปฏิรูปการแรงงาน และมีมติให้กระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานหลักรับไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

 

และต่อมาในวันที่ 15 มีนาคม 2559 คณะรัฐมนตรีได้รับทราบผลการพิจารณา โดยสรุปดังนี้

 

(1) การพัฒนากำลังคนและฝีมือแรงงานทั้งระบบ ควรเป็นวาระแห่งชาติโดยออกพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายเฉพาะ ประกอบด้วยทุกภาคส่วน ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งกำลังแรงงาน ผู้สูงอายุ คนพิการ และการพัฒนาคนในวัยเรียน มีระบบบูรณาการข้อมูลสารสนเทศ

 

(2) การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ควรมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยเริ่มจากการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลที่บูรณาการระบบสารสนเทศ ทั้งแรงงานไทยไปต่างประเทศและแรงงานต่างด้าว มีคณะกรรมการระดับชาติ มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ รวมถึงติดตามประเมินผลทุกภาคส่วน เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

 

(3) การจัดตั้งธนาคารแรงงาน ธนาคารแรงงานที่จัดตั้งขึ้นควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานที่ชัดเจน ไม่มีภารกิจซ้ำซ้อนกับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

 

รายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องอ่านได้ที่นี่ click



31/Mar/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา