ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
โดยในกรณีนี้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3456/2545 โดยสรุปได้ว่า
การที่จำเลยตกลงลดเงินเดือนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างลงร้อยละ 25 เหลือเงินเดือนละ 12,700 บาท และโจทก์ลงชื่อรับไว้โดยไม่ได้ทักท้วงหรือโต้แย้งคัดค้าน จึงมิใช่กรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์ตกลงกับจำเลยโดยปริยาย อันจะทำให้เกิดสัญญาจ้างแรงงานใหม่ได้ เพราะการลดเงินเดือนถือว่าเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างนายจ้างต้องยื่นข้อเรียกร้องต่อลูกจ้าง พิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินแต่ละจำนวนนับแต่วันสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลย
ในกรณีนี้ทางสำนักงานทนายความพรนารายณ์และเพื่อน เห็นว่า แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จะไม่มีมาตราใดที่ระบุห้ามมิให้นายจ้างลดค่าจ้างลูกจ้าง
แต่สำหรับ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 “ค่าจ้าง” ถือว่า “เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอย่างหนึ่ง” ดังนั้นการที่นายจ้างจะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างนายจ้างจะสามารถกระทำได้เฉพาะในกรณีที่เป็นคุณแก่ลูกจ้างเท่านั้น ซึ่งการลดค่าจ้างถือว่าไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง ดังนั้นนายจ้างจึงไม่สามารถดำเนินการได้เพียงฝ่ายเดียวได้ ถ้าลูกจ้างไม่ยินยอม ต้องมีการยื่นข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างเพื่อเปลี่ยนสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นไปตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ได้กำหนดไว้
อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3456 / 2545
ระหว่างนายธนากร ดีกระจ่างเพชร โจทก์ กับ บริษัทอดิสา (1993) จำกัด จำเลย
จำเลยได้มีการประชุมและมีมติออกมาให้มีการลดเงินเดือนของพนักงานลูกจ้างและของโจทก์ เนื่องจากจำเลยประสบปัญหาทางการเงิน ตัวโจทก์เองก็รับและเห็นด้วย อาจจะไม่เต็มใจบ้างที่เงินเดือนหายไปบางส่วนแต่ก็ดีกว่าตกงานและหางานใหม่
จากการซักถามของทนายจำเลย ได้ความว่าโจทก์ได้ลงลายมือชื่อรับเงินเดือนเดือนกันยายน 2540 เดือนกุมภาพันธ์ 2541 และเดือนมีนาคม 2541 การลดเงินเดือนเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงาน การตกลงอันจะก่อให้เกิดสัญญาจ้างแรงงาน หาได้จำกัดเฉพาะการตกลงโดยชัดแจ้งไม่ อาจมีการตกลงโดยปริยายก็ได้ โจทย์มิได้ทักท้วงหรือโต้แย้งการลดเงินเดือน การปรับลดเงินเดือนของโจทก์จึงมีผลสมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายนั้น เห็นว่า
ข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในเรื่องเกี่ยวกับจำนวนค่าจ้าง แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานด้วย และการตกลงอันจะก่อให้เกิดสัญญาจ้างแรงงานจะตกลงกันโดยชัดแจ้งเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาหรือโดยปริยายก็ได้
แต่การตกลงกันโดยปริยายอันจะก่อให้เกิดสัญญาจ้างแรงงาน จักต้องปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่าคู่กรณีได้เข้าใจและยอมรับในเงื่อนไขต่างๆที่จะผูกพันโดยสัญญานั้นด้วยความเต็มใจหรือไม่ทักท้วง หรือโต้แย้งคัดค้านต่อการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งที่อาจทักท้วงหรือโต้แย้งคัดค้านได้ โดยไม่เกิดผลเสียหายใดต่อฝ่ายตน ตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมแรงงานโดยทั่วไป
เมื่อนายจ้างดำเนินการต่างๆในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย การปรับเพิ่มลดค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการ หรือการลงโทษทางวินัย ลูกจ้างแม้ไม่เห็นชอบด้วยก็ไม่กล้าที่จะทักท้วงหรือโต้แย้งคัดค้านโดยเปิดเผย เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นเหตุให้นายจ้างไม่พอใจซึ่งจะมีผลผลต่อความมั่นคงในการทำงานหรือความเจริญก้าวหน้าของตนได้
การนิ่งเฉยหรือไม่ทักท้วงหรือไม่โต้แย้งคัดค้านต่อการกระทำของนายจ้าง ย่อมไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างตกลงกับนายจ้างโดยปริยายและก่อให้เกิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้น
คดีนี้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า
ได้ความจากทางนำสืบของจำเลยเพียงว่ามีการเรียกประชุม โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เข้าร่วมประชุมด้วยหรือไม่ ไม่มีการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างลดเงินเดือนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างลงร้อยละ 25 และโจทก์ลงชื่อรับไว้โดยไม่ได้ทักท้วงหรือโต้แย้งคัดค้าน จึงมิใช่กรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์ตกลงกับจำเลย โดยปริยาย อันจะทำให้เกิดสัญญาจ้างแรงงานใหม่ว่า
จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ในอัตราใหม่ลดลงร้อยละ 25 ได้ โจทก์จึงยังคงมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากจำเลยในอัตราเดิมจนถึงวันที่โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลย
ตามถ้อยคำในอุทธรณ์ของจำเลย แม้จะอ้างว่าการรับฟังพานหลักฐานของศาลแรงงานที่ฟังว่าจำเลยค้างชำระเบี้ยเลี้ยงตามที่โจทก์นำสืบเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีลักษณะเป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย แต่เนื้อหาของการอุทธรณ์ข้อนี้เป็นการกล่าวอ้างว่าควรรับฟังพยานหลักฐานของจำเลยมากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ โดยยกคำเบิกความของพยานบุคคลบางตอนและพยานเอกสารบางฉบับมาอ้างสนับสนุน
ซึ่งเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
(นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ, นางมงคล คุปต์กายจนากุล, นายพูนศักดิ์ จงกลนี)
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...