ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กกต.คลอด 8 ข้อห้าม 6ข้อทำได้ ไลค์-แชร์ข้อมูลผิด พ.ร.บ.ประชามติโทษหนัก

 

เมื่อวันที่ 29 เม.ย.59 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นายธนิศร์ ศรีประเทศ รองเลขาธิการ กกต.กล่าวถึงผลประชุม กกต.ว่า กกต.มีมติให้ออกประกาศ กกต.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดงความคิดเห็นในการออกเสียงประชามติ จะมีผลเมื่อประกาศดังกล่าวลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว คาดว่าจะมีผลไม่เกินสัปดาห์หน้า โดยมีข้อกำหนด สิ่งที่ประชาชนทำได้ 6 ข้อ คือ


1. ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและประเด็นเพิ่มเติมให้เข้าใจ อย่างครบถ้วน จากเว็บไซต์หรือสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแสดงความคิดเห็นของตน
2. แสดงความเห็นโดยใช้ถ้อยคำที่สุภาพ
3. แสดงความเห็นด้วยข้อมูลที่มีความชัดเจนไม่กำกวม อันอาจทำให้บุคคลอื่นเห็นว่าเป็นการบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง
4. การนำเสนอหรืออ้างอิงงานวิจัยตามหลักวิชาการ เพื่อประกอบการแสดงความคิดเห็นให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงบุคคลนั้น ควรตรวจสอบความถูกต้องและแสดงที่มาของงานวิจัยนั้นด้วย
5. การสัมภาษณ์ผ่านสื่อเพื่อแสดงความคิดเห็นพร้อมเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งของตน
6. การนำเข้าข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นพร้อมแสดงเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งของตน ในเว็บไซต์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือการส่งต่อข้อมูลดังกล่าว โดยไม่มีการแสดงความเห็นเพิ่มเติม

รองเลขาธิการ กกต.กล่าวต่อว่า ส่วนที่ทำไม่ได้ 8 ข้อประกอบด้วย

1. การสัมภาษณ์ผ่านสื่อด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่
2. การนำเข้าข้อมูล (โพสต์) อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดมหรือข่มขู่ในเว็บไซต์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือส่งต่อข้อมูล (แชร์) ในลักษณะดังกล่าว
3. การทำหรือส่งสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอันมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่
4. การจัดเวทีสัมมนา อภิปราย โดยกลุ่มองค์กรต่างๆ ที่ไม่มีหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรสื่อมวลชน ตามกฎหมายเข้าร่วม และมีเจตนาเพื่อปลุกระดมทางการเมือง
5. การชักชวนให้ใส่เสื้อ หรือติดป้าย เข็มกลัด ธง ริบบิ้น หรือเครื่องหมายที่แสดงสัญลักษณ์ความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการขายการแจกจ่ายสิ่งของดังกล่าว ในลักษณะรณรงค์ทั่วไปเพื่อนำไปสู่การปลุกระดมทางการเมือง
6. การใช้เอกสารใบปลิวหรือแผ่นพับ ที่มีข้อความอันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคายหรือปลุกระดมทางการเมือง
7. การรายงานข่าวหรือการจัดรายการของสื่อมวลชนที่นำไปสู่การปลุกระดมหรือสร้างความวุ่นวายในสังคม
8. การรณรงค์เพื่อให้เกิดการคล้อยตามของคนในสังคม เพื่อให้ออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง มีลักษณะการปลุกระดมหรือขัดขวางการออกเสียง

นายธนิศร์ กล่าวด้วยว่า กรณีสื่อมวลชนสามารถรายงาน หรือ เสนอข่าวด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ด้วยความรับผิดชอบ เป็นกลาง คำนึงถึงความเท่าเทียมและไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งนี้ กกต.อาจจะออกประกาศเพิ่มเติม ถ้ามีกรณีใดเกิดขึ้นหลังจากนี้อีกเพื่อให้เกิดความชัดเจน กรณีการกระทำในเรื่องอื่นที่ กกต.อาจเขียนบอกว่าสามารถทำได้ การออกประกาศของ กกต.ยืนอยู่บนพื้นฐาน พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ แต่การกระทำอาจจะผิดกฎหมายอย่างอื่น เช่น พ.ร.บ.รักษาความสะอาด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ประกาศหรือคำสั่ง คสช. โดยประชาชนพึงระวังความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ซึ่งประชาชนพบเห็นการกระทำผิดสามารถร้องพนักงานสอบสวนได้เลย ไม่ต้องร้องผ่าน กกต. และพนักงานสอบสวนจะเรียกบุคคลนั้นไปให้ปากคำ และกกต.มีดำริจะเชิญ ผบ.ตร.มาทำความเข้าใจเพื่อให้การปฏิบัติงานเรียบร้อย แต่รอให้ร่างประกาศมีผลก่อน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โปรดเกล้าฯแล้ว พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ ขวางคุก 2 ปี ปรับ 4 หมื่น

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 29 เม.ย. 2559



29/Apr/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา