ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 13 ได้บัญญัติไว้ว่า
“การเรียกร้องให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างหรือลูกจ้างต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ
ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง นายจ้างต้องระบุชื่อผู้เข้าร่วมในการเจรจา โดยจะระบุชื่อตนเองเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจา หรือจะตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาก็ได้ ถ้านายจ้างตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจา ผู้แทนของนายจ้างต้องเป็น กรรมการ ผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือลูกจ้างประจำของนายจ้าง กรรมการของสมาคมนายจ้างหรือกรรมการของสหพันธ์นายจ้างและต้องมีจำนวนไม่เกินเจ็ดคน
ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง ข้อเรียกร้องนั้นต้องมีรายชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของลูกจ้างทั้งหมด ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น ถ้าลูกจ้างได้เลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาไว้แล้ว ให้ระบุชื่อผู้แทนผู้เข้าร่วมในการเจรจามีจำนวนไม่เกินเจ็ดคนพร้อมกับการแจ้งข้อเรียกร้องด้วย ถ้าลูกจ้างยังมิได้เลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจา ให้ลูกจ้างเลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาและระบุชื่อผู้แทนผู้เข้าร่วมในการเจรจา มีจำนวนไม่เกินเจ็ดคนโดยมิชักช้า.....
จากบทบัญญัติดังกล่าวจึงเห็นได้ว่า ผู้ที่จะยื่นข้อเรียกร้องได้ตามมาตรานี้คือ “ลูกจ้าง” และต้องพิจารณาต่อไปว่า “ใครคือลูกจ้าง”
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้บัญญัตินิยามไว้ในมาตรา 5 ความว่า
“ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร”
อธิบายให้เข้าใจง่ายๆว่า โดยปกติแต่ละบริษัทก็จะมีการแต่งตั้งลูกจ้างให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ มากมายแตกต่างกันออกไป เช่น หัวหน้างาน , Supervisor , วิศวกร , นายช่าง , ผู้ช่วยหัวหน้าแผนก , หัวหน้าแผนก , ผู้จัดการ , คนสวน , พนักงานซ่อมบำรุง , Operator และ ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา ต่างก็ “ทำงานให้กับนายจ้าง” โดย “รับค่าจ้าง” ดังนั้น ทุกคนที่กล่าวมาทั้งหมด จึงมีสถานะในการเป็น “ลูกจ้าง” ตามกฎหมายเหมือนกัน
ดังนั้น ลูกจ้างตามมาตรา 13 ที่มีสิทธิที่จะลงรายมือชื่อในการยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง ก็คือ ผู้ที่เป็นลูกจ้างของนายจ้างนั้นๆ ไม่ว่ามีตำแหน่ง มีหน้าที่อย่างไรก็ตาม หากท่านเป็นลูกจ้าง ก็มีสิทธิที่จะลงชื่อเพื่อยื่นข้อเรียกร้องตามกฎหมายได้
และเมื่อท่านได้ลงชื่อเพื่อสนับสนุนการยื่นข้อเรียกร้องแล้ว พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 31 ก็จะเข้ามา “คุ้มครอง” ท่านในทันที ซึ่งมาตรา 31 ดังกล่าวได้บัญญัติไว้ว่า “เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ยหรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงานหรือกรรมการหรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง.....”
ซึ่งก็หมายความว่า เมื่อท่านลงรายมือชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องไปแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้าง , โยกย้ายท่านไม่ได้โดยเด็ดขาด เว้นแต่การโยกย้ายนั้นจะเป็นคุณยิ่งกว่า
ทนายพร
4 พฤษภาคม 2559
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...