ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
จากกรณีที่เด็กวัย 14 ปี ถูกสุนัขเพื่อนบ้านกัดหน้าแผลเหวอะเย็บกว่า 100 เข็ม ทำให้ผู้เป็นพ่อต้องออกมาโวย เนื่องจากหวั่นลูกเสียโฉม และเรียกเงินจำนวน 3 แสนจากเจ้าของสุนัข ฝ่ายเด็กรับเงิน พร้อมยอมความกันในที่สุด จนมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อกฎหมายกันไปต่างๆ นาๆ
ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 พ.ค. นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว Chuchart Srisaeng กรณีเหตุการสุนัขตัวหนึ่งกัดเด็กผู้หญิงคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บบริเวณใบหน้า มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า เหตุที่เกิดขึ้นเพราะมี พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๗ จึงไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วยเหลือเด็กเนื่องจากกลัวจะมีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
บางคนถึงกับด่าผู้มีส่วนในการดำเนินการให้มีกฎหมายฉบับนี้ ว่าเห็นสัตว์มีความสำคัญมากกว่าคน
มีการเสนอให้ดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ. ฉบับนี้ว่า ในกรณีที่สุนัขจะกัดคนให้สามารถทำร้ายสุนัขเพื่อป้องกันไม่ให้กัดผู้นั้นได้
ทั้งนี้ พ.ร.บ.ดังกล่าวตาม มาตรา ๒๑ ระบุข้อยกเว้นไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ “การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกาย ของมนุษย์ หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์”
นอกจากนี้ เมื่อเด็กได้รับบาดเจ็บเพราะถูกสุนัขกัด เจ้าของสุนัขต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เด็กผู้หญิงที่ได้รับบาดเจ็บ ด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๓๓
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...