ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
“อำนวยความยุติธรรมให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล”
คุณธรรมของศาลยุติธรรม “ซื่อสัตย์สุจริต ปราศจากอคติ เป็นกลาง เที่ยงธรรม”
๑. ด้านการคุ้มครองสิทธิของประชาชน
๑.๑ มุ่งอำนวยความยุติธรรมเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
๑.๒ พัฒนากระบวนพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรมทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีพิเศษ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม
๑.๓ พัฒนาระบบการพิจารณาพิพากษาคดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ อาทิ คดีผู้บริโภค คดีสิ่งแวดล้อม และคดีเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมตามลักษณะแห่งคดี
๑.๔ ส่งเสริมการระงับข้อพิพาททางเลือก อาทิ การไกล่เกลี่ยและอนุญาโตตุลาการ อันเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีทางเลือกเพื่อระงับหรือยุติข้อพิพาทด้วยความพึงพอใจของทุกฝ่าย
๑.๕ เร่งรัดการพิจารณาคดีในศาลสูง และส่งเสริมระบบการพิจารณาคดีแบบต่อเนื่องและครบองค์คณะ
๑.๖ ดำเนินการจัดตั้งศาลเพื่อกระจายความยุติธรรมให้ประชาชนได้อย่างทั่วถึง
๑.๗ สร้างและปรับปรุงอาคารศาลให้เพียงพอต่อการรองรับภารกิจในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน
๒. ด้านการพัฒนาบุคลากร และระบบงานของศาลยุติธรรม
๒.๑ สร้างจิตสำนึกของบุคลากรในการอำนวยความยุติธรรม โดยคำนึงถึงเป้าหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมถึงการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่และส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองโดยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงในการยกระดับการอำนวยความยุติธรรมให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
๒.๒ สนับสนุนให้ผู้พิพากษามีทักษะและความรู้เชี่ยวชาญ เข้าใจบริบทของสังคม เศรษฐกิจและการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สามารถปรับใช้กฎหมายเพื่อรักษาสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างเหมาะสม
๒.๓ เสริมสร้างการบริหารงานบุคคลเพื่อให้บุคลากรมีคุณธรรมและจริยธรรม และมีความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Path)
๒.๔ ปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังข้าราชการศาลยุติธรรมให้สอดคล้องกับภารกิจของศาลยุติธรรม
๒.๕ นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร สร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลทั้งภายในและภายนอก พร้อมพัฒนาเพิ่มศักยภาพบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ศาลยุติธรรมสามารถอำนวยความยุติธรรมและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
๒.๖ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพคุ้มค่า และบรรลุเป้าหมาย
๒.๗ ปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการอำนวยความยุติธรรม เร่งรัดการออกระเบียบข้อบังคับ ข้อกำหนด เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย รวมถึงการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้
๒.๘ เสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของศาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่ออำนวยความยุติธรรมสู่ประชาชน
๓. ด้านการพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในระดับสากล
๓.๑ เสริมสร้างความร่วมมือทางการศาล การยุติธรรม ความร่วมมือทางวิชาการและกฎหมายทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคอาเซียน และระดับนานาชาติ รวมถึงการยกระดับสถานะและบทบาทของศาลยุติธรรมในเวทีระหว่างประเทศ
๓.๒ พัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเพื่อความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงบริบทด้านการต่างประเทศ รวมถึงการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...