ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ดีเดย์1ต.ค. เปิดศาลอาญาทุจริตฯ รับคดี’กล่าวหาจนท.รัฐ-ปปช.ยึดทรัพย์-ฟอกเงิน-แจ้งทรัพย์สินเท็จ’

เมื่อเวลา 15.30 น.วันที่ 22 กรกฎาคม ที่ห้องประชุมชั้น 12 สำนักงานศาลยุติธรรม ถนนรัชดาภิเษก นายอธิคม อินทุภูติ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม และนายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ประจำสำนักประธานศาลฎีกา ร่วมแถลงการจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและพฤติมิชอบกลาง ว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและพฤติมิชอบ พ.ศ…. เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

 

ศาลยุติธรรมจะดำเนินการจัดตั้งและเปิดที่ทำการศาลอาญาคดีทุจริตฯแห่งแรกบริเวณศรีย่าน ถนนสามเสน ในวันที่ 1 ตุลาคม เบื้องต้นเป็นศาลระบบไต่สวน มีองค์คณะผู้พิพากษา 10 องค์คณะ และมีอธิบดี 1 คน รองอธิบดีอีก 3 คน มีอำนาจพิจารณาคดีที่มีโทษทางอาญาเกี่ยวกับความผิดเจ้าพนักงานและเจ้า หน้าที่ของรัฐทุกประเภทคดี ไม่ว่าจะเป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน หรือประชาชนที่เกี่ยวข้องเกี่ยวพันให้สินบน หรือเป็นคนกลางเสนอให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน คดีที่ฟ้องก่อนวันที่ 1 ตุลาคม เช่น คดีทุจริตเจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ในศาลอาญากว่า 40 คดี และคดีที่มูลคดีเกิดขึ้นทั่วราชอาณาจักร ศาลจังหวัดประทับรับฟ้องไว้ก่อนแล้วจะไม่ถูกโอนไปศาลอาญาคดีทุจริตฯ และศาลจะรับพิจารณาคดีเฉพาะคดีที่ยื่นฟ้องในวันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป

 

นายชาญณรงค์กล่าวว่า เหตุที่จัดตั้งศาลแห่งนี้เป็นศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาโดยที่ไม่ได้ อยู่ในฐานะเป็นศาลชำนัญพิเศษ หรือศาลพิเศษ เนื่องจากเห็นว่าการพิจารณาคดีอาญาทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐสมควรมีการปฏิรูป ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานอัยการสูงสุดหรือประชาชนเป็นโจทก์ ที่ศาลจะต้องทำการไต่สวนมูลฟ้อง และการดำเนินกระบวนพิจารณาต่างๆ คือ จะมีคดีอยู่ 3 กลุ่มที่อยู่ในอำนาจศาลแห่งนี้ คือ

 

1.คดีอาญาทั่วไปที่เจ้าหน้าที่รัฐถูกกล่าวหาเป็นจำเลย ศาลมีอำนาจพิจารณาไปถึงการริบทรัพย์สินที่ได้มาซึ่งการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดด้วย แต่หากเป็นคดีฉ้อโกงหลอกลวงวิ่งเต้นว่าจะให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน จะไม่ถือว่าเป็นความผิดที่อยู่ในอำนาจของศาลนี้

 

นายชาญณรงค์กล่าวต่อ ว่า 2.เป็นคดีทางแพ่งที่พนักงานอัยการ โดยคำร้องของ ป.ป.ช.ขอให้ยึดทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมาย ป.ป.ช. คดีความผิดฐานฟอกเงิน คดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ (ฮั้ว) คดีเกี่ยวกับการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ คดีเกี่ยวกับการขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้ายข่มขืนใจเจ้าหน้าที่รัฐให้กระทำการหรือไม่กระทำการตาม หน้าที่ คดีร่ำรวยผิดปกติ และ 3.คดีเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จหรือปกปิดบัญชีทรัพย์สิน ในส่วนนี้ต้องรอทาง ป.ป.ช.แก้กฎหมายก่อน จึงจะนำมาฟ้องที่ศาลอาญาทุจริตฯได้ นอกจากนี้ในอนาคตจะมีการพิจารณาจัดตั้งศาลคดีทุจริตฯ ยังให้ตั้งศาลอาญาทุจริตภาค ตามที่ระบุไว้ในร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลคดีทุจริตฯด้วย

 

ผู้สื่อข่าวถามถึงร่างรัฐธรรมนูญซึ่งใกล้วันลงประชามติ วันที่ 7 สิงหาคมนี้ การวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญในส่วนของผู้พิพากษาจะทำได้หรือไม่ และศาลสามารถให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและข้อกฎหมาย นายสืบพงษ์กล่าวว่า กรณีที่เป็นการแสดงความเห็นส่วนบุคคล ไม่เกี่ยวกับองค์กรสามารถทำได้ ในส่วนของผู้พิพากษามีประมวลจริยธรรมควบคุมอยู่แล้ว และผู้พิพากษาทราบดีอยู่แล้วว่าสิ่งใดทำได้หรือไม่ได้ ส่วนการให้ความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญเป็นหน้าที่ของ กกต. ศาลไม่ได้มีหน้าที่นี้

 

มติชน 22 ก.ค. 59



23/Jul/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา