ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
นับตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2558 ที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นำโดย ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะที่ได้ยกร่างขึ้นมา หลังจากนั้นทางคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง และเผยแพร่ต่อสาธารณะครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2559 และได้นำความคิดเห็นที่ได้มาปรับปรุงจนกลายเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ที่ได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 และคณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ที่จะถึงนี้
จากการทบทวนสาระสำคัญที่ปรากฏในร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี 2540 ฉบับปี 2550 และข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559 ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็น “แรงงาน” เท่านั้น พบว่า รัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติมีประเด็นที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ปี 2550 และข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) รวม 8 ประเด็น ซึ่งพบในมาตรา 41, 42, 44, 47, 48, 74,133 และ 178 ดังนี้
ประเด็นที่ 1) มาตรา 41 ระบุว่า
บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ
(1) ได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ
(2) เสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐและได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว
(3) ฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ
ข้อสังเกตต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติในมาตรา 41 พบว่า มีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และปี 2550 ที่การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ และการฟ้องหน่วยงานของรัฐ ได้ครอบคลุมถึงการที่ “บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติราชการทางปกครอง อันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน” ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติได้ตัดถ้อยคำในส่วนนี้ออกไป ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการที่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจะสามารถเข้าถึงกระบวนการพิจารณาอย่างเป็นธรรมได้ โดยไม่ใช่เป็นเพียงผู้รอรับผลการชี้แจงจากหน่วยงานรัฐเพียงเท่านั้น เช่น กรณีที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้ฟ้องร้องศาลปกครองกรณีสำนักงานประกันสังคมไม่ทำหน้าที่ตามเจตนารมณ์ตามที่ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ได้กำหนดไว้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ทางผู้ร้องต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อจะได้ข้อมูลอย่างรอบด้านและเป็นธรรม
อ่านได้ทั้งหมดได้ที่ http://voicelabour.org/?p=24639
และ http://www.ilaw.or.th/node/4207
และ http://www.komchadluek.net/news/politic/232629
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...