ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สปสช.จัดงบ "เหมารายหัว" ใหม่ เดิมเท่ากันทั่วประเทศ เป็น "ขั้นบันได" รพ.ห่างไกลได้มากขึ้น

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด สปสช.ว่า บอร์ด สปสช.มีมติเห็นชอบเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2560 ภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.61 เฉพาะงบเหมาจ่ายรายหัวเพิ่มร้อยละ 2.67 ส่วนค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขย้ายไปตั้งที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณ สุข ซึ่งทั้งหมดผ่านการหารือร่วมระหว่าง สปสช. และ สธ.แล้ว โดยจะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์มากขึ้น ทั้งการเข้าถึงบริการโดยเฉพาะโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ลดระยะเวลารอคิวผ่าตัด การได้รับบริการแพทย์แผนไทย และการได้รับการส่งเสริมป้องกันโรค และ สธ. สปสช. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จะทำงานร่วมกันในเรื่องการส่งเสริมสุขภาวะเด็กปฐมวัย การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว เป็นต้น ขณะที่การออกแบบการจัดสรรงบฯจะทำให้หน่วยบริการมีความคล่องตัวในการให้ บริการมากขึ้น และเพิ่มกลไกให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2560 ได้รับทั้งสิ้น 165,773.0144 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินเดือนหน่วยบริการภาครัฐ 42,307.234 ล้านบาท ดังนั้น คงเหลืองบกองทุนที่ส่งให้ สปสช. 123,465.7804 ล้านบาท สำหรับ งบ 6 รายการคือ 1.บริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว 48.8029 ล้านคน 151.770.6746 ล้านบาท 2.บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 291,900 ราย 3,122.408 ล้านบาท 3.ค่าบริการสาธารณสุขผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 52,911 ราย 7,529.2353 ล้านบาท 4.บริการควบคุมป้องกันรักษาโรคเรื้อรัง รวมจิตเวชเรื้อรังในชุมชน 2,822,600 ราย 960.409 ล้านบาท 5.ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร เสี่ยงภัย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 173 แห่ง 1,490.2875 ล้านบาท 6.ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 150,000 คน 900 ล้านบาท



ในส่วนของการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2560 ที่ได้รับ 3,109.87 บาทต่อประชากรนั้น คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน และคณะอนุกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ ได้พิจารณาแล้ว แบ่งเป็น 8 รายการ ดังนี้ 1.บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป 1,137.58 บาท 2.บริการผู้ป่วยในทั่วไป 1,090.51 บาท 3.บริการกรณีเฉพาะ 315.98 บาท 4.บริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค 405.29 บาท 5.บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ 16.13 บาท 6.บริการแพทย์แผนไทย 10.77 บาท 7.ค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน 128.69 บาท และ 8.เงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 4.92 บาท



"เกณฑ์การจัดสรรงบฯ บัตรทองที่มีการปรับเปลี่ยนในปีนี้ อาทิ มีการยกเลิกการจ่ายเงินล่วงหน้าให้หน่วยบริการ เนื่องจากมีปัญหาโดยเฉพาะเรื่องที่หน่วยบริการถูกเรียกเงินคืนกลับในภายหลัง นอกจากนี้ มีการจัดสรรงบฯแบบขั้นบันได โดยหน่วยบริการที่อยู่ในพื้นที่กันดาร ประชากรน้อยแต่จำเป็นต้องมีหน่วยบริการจะได้รับการจัดสรรงบฯรายหัวมากกว่า ปกติ มีการกันเงินไว้ไม่เกิน 7,000 ล้านบาทสำหรับการปรับเกลี่ยแบบขั้นบันได ปัจจุบันมีรพ.สังกัดสธ.เข้าเกณฑ์นี้ 200 แห่งจากทั้งหมด 1,000 แห่ง และการบริหารจัดการค่าบริการผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และป้องกันโรคนั้น ได้มีการกันเงินไว้ปรับเกลี่ยระดับประเทศ เขต จังหวัด จำนวนไม่เกิน 1,900 ล้านบาท" นพ.ศักดิ์ชัยกล่าว


ที่มา : มติชนออนไลน์



02/Aug/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา