ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
ราชกิจจานุเบกษา หน้า ๑๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๖๔ ก ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีการดําเนินคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสอง มาตรา ๙ วรรคสอง มาตรา ๒๗ วรรคสอง มาตรา ๔๕ วรรคสอง (๘) และมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๙
ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีการดําเนินคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๙”
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้
“องค์คณะผู้พิพากษา” หมายความว่า องค์คณะผู้พิพากษาซึ่งมีอํานาจหน้าที่ในการพิจารณาและวินิจฉัยคําร้องตามมาตรา ๔๔
ข้อ ๔ ในกรณีมีความจําเป็นต้องมีวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดในทางธุรการเพื่อให้การปฏิบัติตามข้อบังคับนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ให้เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้กําหนดวิธีการนั้น
ข้อ ๕ ให้ประธานศาลฎีการักษาการและมีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติรวมทั้งออกระเบียบ ประกาศ คําสั่ง หรือคําแนะนําเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้
หมวด ๑ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่ต้องมีการปกปิด
ข้อ ๖ ให้คู่ความส่งพยานเอกสารและพยานวัตถุที่ยังอยู่ในความครอบครองของตนต่อศาลก่อนวันตรวจพยานหลักฐานหรือวันสืบพยานในกรณีไม่มีการตรวจพยานหลักฐานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
หากคู่ความฝ่ายใดเห็นว่ามีความจําเป็นต้องปกปิดชื่อและที่อยู่ของบุคคลหรือข้อมูลอย่างอื่นที่อาจระบุตัวบุคคลได้ซึ่งปรากฏอยู่ในพยานเอกสารหรือพยานวัตถุที่ส่งศาลเพื่อความปลอดภัยของบุคคล ให้แถลงให้ศาลทราบกับให้จัดทําสําเนาหรือภาพถ่ายพยานหลักฐานนั้นโดยปิดหรือลบชื่อและที่อยู่หรือข้อมูลใดที่อาจระบุตัวบุคคลนั้นได้ แต่หากการปิดหรือลบชื่อและที่อยู่หรือข้อมูลอย่างอื่นนั้นไม่อาจกระทําได้ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานหลักฐานทําบันทึกสรุปเรื่องเกี่ยวกับพยานหลักฐานรวมไว้กับพยานหลักฐานอื่นที่ส่งศาล และให้นําพยานหลักฐานที่ต้องการปกปิดใส่ซองหรือบรรจุภัณฑ์ปิดผนึกประทับตรา “ลับ” ยื่นต่อศาล
ข้อ ๗ ในกรณีที่คู่ความประสงค์จะขอตรวจหรือคัดสําเนาพยานหลักฐานตามข้อ ๖ ให้คู่ความยื่นคําร้องต่อศาล หากศาลเห็นว่าพยานหลักฐานที่คู่ความขอตรวจหรือคัดสําเนาเป็นพยานหลักฐานที่คู่ความอีกฝ่ายต้องการปกปิด ให้ศาลอนุญาตให้คู่ความฝ่ายนั้นตรวจหรือคัดสําเนาพยานหลักฐานที่ได้มีการปิดหรือลบชื่อและที่อยู่หรือข้อมูลใดที่อาจระบุตัวบุคคลหรือบันทึกสรุปเรื่อง แล้วแต่กรณี
หมวด ๒ การดําเนินกระบวนพิจารณาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ
ข้อ ๘ การสืบพยานก่อนฟ้องคดี การไต่สวนมูลฟ้อง หรือการพิจารณาคดีในกรณีที่ศาลอนุญาตให้พยานเบิกความที่ศาลอื่นหรือสถานที่ทําการของทางราชการหรือสถานที่แห่งอื่น โดยจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพ ให้นําข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการสืบพยานในลักษณะการประชุมทางจอภาพ พ.ศ. ๒๕๕๖ มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้
ข้อ ๙ ในกรณีที่พยานมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ และสถานที่ที่จะให้พยานเบิกความในลักษณะการประชุมทางจอภาพเป็นศาลในต่างประเทศ หรือสถานที่ของหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศ หรือสถานที่ขององค์กรระหว่างประเทศ ให้ดําเนินการตามความตกลงระหว่างกัน ถ้าไม่มีความตกลงเช่นว่านั้นให้สํานักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้ติดต่อประสานงานตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติระหว่างประเทศ
ในกรณีมีเหตุจําเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งหากเนิ่นช้าไปจะทําให้พยานบุคคลดังกล่าวยากแก่การนํามาสืบหรือสูญหาย ให้สํานักงานศาลยุติธรรมติดต่อประสานงานกับศาลในต่างประเทศ หรือหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศได้โดยตรง
ในกรณีศาลในต่างประเทศต้องการสืบพยานบุคคลในลักษณะการประชุมทางจอภาพในศาลใด ถ้าไม่มีความตกลงใดกําหนดวิธีการไว้ ให้สํานักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้ติดต่อประสานงานกับศาลนั้น ตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติระหว่างประเทศ
ข้อ ๑๐ การติดต่อหรือส่งเอกสารระหว่างศาลหรือสถานที่ที่ใช้ในการพิจารณาคดีในลักษณะการประชุมทางจอภาพ อาจดําเนินการทางไปรษณีย์ตอบรบั โทรสาร หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใดก็ได้
หมวด ๓ ฎีกา
ข้อ ๑๑ คําร้องแสดงเหตุที่ศาลฎีกาควรรับฎีกาไว้พิจารณาต้องแสดงถึง
(๑) ปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายที่ขออนุญาตฎีกาโดยชัดแจ้ง และ
(๒) ปัญหาที่ขออนุญาตฎีกานั้นเป็นปัญหาสําคัญดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๕ หรือในข้อบังคับนี้ซึ่งศาลฎีกาควรรับวินิจฉัย
กรณีตามมาตรา ๔๕ วรรคสี่ คําร้องเพียงแสดงว่าอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ ซึ่งอัยการสูงสุดได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาของพนักงานอัยการว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย
ข้อ ๑๒ กรณีที่กฎหมายกําหนดให้ผู้ฎีกาต้องชําระค่าธรรมเนียมชั้นฎีกา ผู้ฎีกาต้องยื่นคําร้องพร้อมกับคําฟ้องฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาและต้องนําเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคําพิพากษาหรือคําสั่งมาวางศาลพร้อมกับคําฟ้องฎีกานั้นด้วย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียม ถ้าผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคําร้องพร้อมสํานวนความไปยังศาลฎีกา กรณีเช่นว่านี้ ให้องค์คณะผู้พิพากษามีคําสั่งไม่รับคําร้องและไม่รับฎีกาโดยสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดหากมี ให้แก่ผู้ฎีกา
ข้อ ๑๓ ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจตรวจคําร้องแสดงเหตุที่ศาลฎีกาควรรับฎีกาไว้พิจารณาและคําฟ้องฎีกาและมีคําสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๘ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๐ หากผู้ฎีกาไม่ปฏิบัติตามคําสั่ง ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคําร้องและคําฟ้องฎีกาดังกล่าวพร้อมสํานวนไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งโดยเร็วต่อไป
กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าองค์คณะผู้พิพากษาเห็นว่าคําสั่งของศาลชั้นต้นถูกต้อง ให้มีคําสั่งไม่รับคําร้องและไม่รับฎีกา หรือถ้าไม่มีคําร้องก็ให้สั่งไม่รับฎีกาและสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมด หากมี ให้แก่ผู้ร้อง
ข้อ ๑๔ ในกรณีมีการขอขยายระยะเวลาใด ๆ เช่น การยื่นคําร้องหรือคําฟ้องฎีกา หรือการชําระหรือวางเงินค่าธรรมเนียมตามข้อ ๑๒ หากศาลชั้นต้นเห็นสมควรอนุญาตให้ขยาย ให้ศาลชั้นต้นสั่งตามที่เห็นสมควร มิฉะนั้นให้รีบส่งคําร้องขอขยายระยะเวลาพร้อมสํานวนความไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งโดยเร็วต่อไป
ข้อ ๑๕ เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคําร้องและคําฟ้องฎีกาตามข้อ ๑๑ แล้ว ให้รีบส่งสําเนาคําร้องและคําฟ้องฎีกานั้นให้คู่ความอีกฝ่ายแล้วส่งคําร้องพร้อมคําฟ้องฎีกาและสํานวนความไปยังศาลฎีกาโดยเร็ว
ทั้งนี้ ไม่จําต้องรอคําคัดค้านของคู่ความฝ่ายนั้น แต่ในกรณีที่คู่ความอีกฝ่ายได้ยื่นคําร้องและคําฟ้องฎีกาด้วยให้ศาลชั้นต้นดําเนินการเกี่ยวกับคําร้องดังกล่าวให้เสร็จสิ้นเสียก่อนแล้วจึงส่งคําร้องและคําฟ้องฎีกาของคู่ความทุกฝ่ายไปยังศาลฎีกาในคราวเดียวกันถ้ามีการยื่นคําคัดค้านภายหลังที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ก็ให้ส่งคําคัดค้านนั้นไปยังศาลฎีกาเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย
ข้อ ๑๖ การขอแก้ไขคําร้องหรือคําฟ้องฎีกาให้กระทําได้ภายในกําหนดระยะเวลาตามมาตรา ๔๓ หรือตามที่ศาลมีคําสั่งให้ขยายออกไป
ข้อ ๑๗ การพิจารณาคําร้องตามมาตรา ๔๔ องค์คณะผู้พิพากษาพึงพิจารณาวินิจฉัยและมีคําสั่งให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้รับสํานวนหรือตามระเบียบของประธานศาลฎีกา
ข้อ ๑๘ ปัญหาสําคัญอื่นตามมาตรา ๔๕ วรรคสอง (๘) ได้แก่ กรณีดังต่อไปนี้
(๑) คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์มีความเห็นแย้งในสาระสําคัญ
(๒) คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายสําคัญที่ไม่สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันกับประเทศไทย
(๓) คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์กําหนดให้จําเลยชดใช้ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตามมาตรา ๑๔ สูงเกินส่วน
(๔) ปัญหาที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่องค์คณะผู้พิพากษาเห็นว่า ปัญหาตามคําร้องแสดงเหตุที่ศาลฎีกาควรรับฎีกาทั้งหมดหรือบางข้อเป็นปัญหาสําคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย ให้มีคําสั่งอนุญาตให้ฎีกาและสั่งรับฎีกาทั้งหมดหรือบางข้อไว้พิจารณาแล้วส่งให้ศาลชั้นต้นอ่านคําสั่งดังกล่าวให้คู่ความฟัง
จําเลยฎีกาอาจยื่นคําแก้ฎีกาต่อศาลชั้นต้นได้ภายในกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันฟังคําสั่ง และภายในกําหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จําเลยฎีกายื่นคําแก้ฎีกาหรือนับแต่ระยะเวลาที่กําหนดไว้สําหรับการยื่นคําแก้ฎีกาได้สิ้นสุดลง ให้ศาลชั้นต้นส่งคําแก้ฎีกาไปยังศาลฎีกาหรือแจ้งให้ทราบว่าไม่มีคําแก้ฎีกา เมื่อศาลฎีกาได้รับคําแก้ฎีกาหรือแจ้งความเช่นว่าแล้ว ให้นําคดีลงสารบบความโดยพลันการขอขยายระยะเวลายื่นคําแก้ฎีกาให้นําความในข้อ ๑๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่องค์คณะผู้พิพากษาเห็นว่า คําร้องมิได้ปฏิบัติตามข้อ ๑๑ หรือปัญหาตามคําร้องทั้งหมดมิใช่ปัญหาสําคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย ให้มีคําสั่งยกคําร้องและไม่รับฎีกาแล้วส่งสํานวนความคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งให้คู่ความทราบโดยเร็ว คําสั่งที่ไม่อนุญาตตามวรรคหนึ่งให้แสดงเหตุผลโดยย่อ และให้องค์คณะผู้พิพากษามีอํานาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่ผู้ฎีกาได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่มีคู่ความหลายฝ่ายต่างยื่นคําร้องแสดงเหตุที่ศาลฎีกาควรรับฎีกาไว้พิจารณาให้วินิจฉัยโดยทําเป็นคําสั่งฉบับเดียวกันก็ได้
ข้อ ๒๒ ห้ามมิให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะที่พิจารณาสั่งอนุญาตให้ฎีกาคดีใดเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นอีก
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
วีระพล ตั้งสุวรรณ
ประธานศาลฎีกา
อ่านเอกสารทั้งฉบับในรูปเอกสารได้ที่นี่
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...