ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

นายจ้างให้ลูกจ้างออกก่อนวันที่ลูกจ้างประสงค์จะลาออก โดยอ้างว่าลูกจ้างกระทำผิดเป็นการเลิกจ้าง ส่วนค่าเช่าบ้านถือว่าไม่เป็นค่าจ้าง

อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3129/2558

 

การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานต่อจำเลยที่ 1 นายจ้าง เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 โดยให้มีผลวันที่ 10 พฤษภาคม 2552 ย่อมเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งการเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้น นายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานได้แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมตกลงหรืออนุมัติ แต่ในระหว่างระยะเวลาที่สัญญาจ้างแรงงานยังมีผลบังคับอยู่นั้น นายจ้างยังคงมีนิติสัมพันธ์ต่อกันจนกว่าสัญญาจ้างแรงงานจะสิ้นผล

 

สำหรับคดีนี้เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 โจทก์ยื่นหนังสือลาออกโดยให้มีผลวันที่ 10 พฤษภาคม 2552 วันที่ 23 เมษายน 2552 ก่อนวันลาออกมีผล จำเลยที่ 1 มีหนังสือเลิกจ้างโจทก์อ้างว่าโจทก์จงใจทำให้จาเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายและกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้จาเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเลิกจ้างโจทก์แล้ว หาใช่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิให้โจทก์ออกจากงานก่อนครบกำหนดตามความประสงค์ที่โจทก์ได้แสดงเจตนาลาออกแต่อย่างใดไม่

 

ซึ่งเมื่อจำเลยที่ 1 อ้างเหตุเลิกจ้างโจทก์ไว้ในหนังสือเลิกจ้างว่าโจทก์กระทำผิด แต่ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานภาค 2 รับฟังมา ได้ความว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามกล่าวอ้าง จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์

 

สำหรับประเด็นค่าเช่าบ้าน แม้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าเช่าบ้านแก่โจทก์ในอัตราเท่ากันทุกเดือน แต่จำเลยที่ 1 จ่ายค่าเช่าบ้านโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือพนักงานตามข้อบังคับการบริหารงานบุคคล โดยถือเป็นเงินช่วยเหลืออื่นๆ ตามบทที่ 5 สวัสดิการและเงินช่วยเหลือ ค่าเช่าบ้านจึงมิใช่ค่าจ้าง



27/Aug/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา