ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2557
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายคลื่นวิทยุมีกำหนด 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 ตกลงค่าจ้างเดือนละ 45,000 บาท ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 อันเป็นวันก่อนที่โจทก์จะเริ่มทำงานเพียง 1 วัน จำเลยบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหาย 335,000 บาท
จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาจ้างดังกล่าวยังไม่เป็นสัญญาจ้างตามกฎหมายเนื่องจากโจทก์ลงนามฝ่ายเดียว ผู้อำนวยการใหญ่ของจำเลยยังไม่ได้ลงนาม ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินจำนวน 45,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยอุทธรณ์
ศาลฎีกาเห็นว่า ในการทำสัญญาจ้างพนักงานของจำเลยมิได้ปรากฏความตอนใดเลยว่า การบรรจุแต่งตั้งพนักงานของจำเลยนั้นจะต้องมุ่งทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ ทั้งตามข้อบังคับก็มิได้กำหนดหลักเกณฑ์การต้องทำสัญญาจ้างพนักงานเป็นหนังสือไว้ ประกอบกับสัญญาจ้างก็มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวเช่นกัน
ดังนั้นการที่จำเลยอนุมัติตำแหน่งงานของโจทก์ จึงได้ทำสัญญาจ้างและให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ จึงเป็นการที่โจทก์สนองรับการเสนอการจ้างจำเลย ก่อให้เกิดเป็นสัญญาจ้างแรงงานระหว่างกัน ซึ่งทุกฝ่ายมีสิทธิและหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวแล้ว แม้ตามสัญญาจ้างกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของจำเลยยังมิได้ลงลายมือชื่อไว้ก็ตาม แต่เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องภายในของจำเลยเท่านั้น จำเลยจึงมีสิทธิและหน้าที่ต้องผูกพันตามสัญญาจ้างแล้ว
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...