ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

22 สิงหาคม 2559 ประกาศใช้พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559

อ่านกฎหมายทั้งฉบับclickที่นี่

 

อ่านบทวิเคราะห์โดย ณรงค์ ใจหาญ

 

ผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิด หรือจำเลยในคดีอาญาที่ต้องถูกคุมขังระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา ของศาล แต่ต่อมาภายหลังศาลยกฟ้องเพราะจำเลยไม่ได้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ทั้งสองกรณีนี้ กฎหมายให้รัฐจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย และจำเลยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้เพื่อเป็นการเยียวยาผุู้เสียหาย ในฐานะที่ตกเป็นเหยื่อในคดีอาญา และในบางกรณีไม่อาจจับผู้กระทำความผิดมาลงโทษหรือบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายให้ได้

 

ในขณะเดียวกันการดำเนินคดีแก่จำเลยในคดีอาญา ซึ่งจำเป็นต้องควบคุมหรือคุมขังระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุด แต่ต่อมาภายหลังพนักงานอัยการมีการถอนฟ้องหรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง เพราะจำเลยไม่ได้กระทำผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จำเลยดังกล่าวย่อมได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกฎหมายที่ว่านี้คือ พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย ค่าทดแทนจำเลยและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ซึ่งตราขึ้นเพื่อกำหนดอัตราการจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหายที่ได้รับความเสีย หายจากการกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา ในความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย ความผิดฐานทำให้แท้งลูกและความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก ส่วนจำเลยจะได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาว่าจำเลยไม่ ได้เป็นผู้กระทำความผิด หรือปรากฏว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดและได้ถอนฟ้องคดีไป

 

อย่างไรก็ดี ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากที่บังคับใช้กฎหมายมาเป็นระยะเวลาถึงสิบกว่าปี พบว่ามีผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายที่ถึงแก่ความตายจำนวนกว่าร้อยละ แปดสิบไม่ได้ยื่นขอค่าตอบแทนภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้เสียหาย ได้รู้ถึงการกระทำความผิด ส่วนจำเลยต้องยื่นภายในเวลาเดียวกันนับแต่วันที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง หรือศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด จึงทำให้ไม่อาจขอรับค่าตอบแทนหรือค่าทดแทนได้

 

สาเหตุหลักของผู้เสียหายที่ไม่ได้ยื่นเพราะไม่รู้ถึงสิทธิดังกล่าว นอกจากนี้ การยื่นคำขอนั้น ทางคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาตามกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นคณะ กรรมการที่อยู่ส่วนกลาง และเป็นกรรมการชุดเดียวที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะอนุมัติจึงทำให้เกิดความล่า ช้าในการพิจารณา และมีผลกระทบต่อการจ่ายค่าตอบแทนในช่วงเวลาที่ผ่านมาว่าเกิดความล่าช้า จึงไม่อาจเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายได้ทันต่อความจำเป็นของผู้ยื่น ขอ ส่วนในประเด็นที่สาม คือ กรณีของจำเลยนั้น หากการยกฟ้องนั้นศาลไม่ได้มีคำพิพากษาชัดเจนว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้กระทำความ ผิด แต่เป็นกรณียกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยก็เป็นปัญหาต่อไปว่า คณะกรรมการจะต้องพิเคราะห์และตีความว่าคำพิพากษาดังกล่าวเป็นการยกฟ้องว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดหรือไม่ จึงเกิดความล่าช้าในการพิจารณาจ่ายค่าทดแทนในกรณีนี้ ประการสุดท้าย การกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังเป็นการกระทำโดยการทำร้ายเช่นเดียวกัน แต่มีการประทุษร้ายต่อทรัพย์ด้วย จะครอบคลุมถึงความผิดต่อร่างกายที่จะขอค่าทดแทนได้หรือไม่

 

กรณีเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวโดยแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สอง พ.ศ.2559 เรียกว่า พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย ค่าทดแทนและค่าใข้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 133 ตอนที่ 74 ก ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2559 โดยจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ซึ่งในการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการขอค่าทดแทนและค่าตอบแทนนี้ มีการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการพิจารณาโดยให้เป็นอำนาจ ของอนุกรรมการฯที่จะพิจารณาได้ และปรับปรุงเกี่ยวกับความผิดท้ายกฎหมายที่จะให้ผู้เสียหายขอค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น

 

ข้อที่ปรับปรุงเพิ่มเติมในสาระสำคัญมีดังนี้


1. กำหนดให้มีการแจ้งสิทธิให้แก่ผู้เสียหายว่ามีสิทธิร้องขอค่าตอบแทนตามพระราช บัญญัตินี้ โดยให้พนักงานสอบสวนแจ้งสิทธิให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาทเมื่อมีการร้องทุกข์ ส่วนกรณีจำเลย ที่ได้รับการถอนฟ้องหรือศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ให้เจ้าพนักงานผู้ปล่อยตัวจำเลยเป็นผู้แจ้งสิทธิในจำเลยทราบ และทั้งสองกรณีต้องมีการทำบันทึกไว้ (มาตรา 6/1) ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาการไม่รู้ถึงสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนและค่าทดแทน

 

2. กำหนดให้การยื่นคำร้องขอทำได้ทั้งต่อคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน และค่าใข้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา หรือต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการฯ ได้ หรือยื่นต่อหน่วยงานอื่นที่คณะกรรมการฯประกาศกำหนดได้ ตามมาตรา 22 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งการกระจายให้ยื่นคำร้องได้ทำให้เกิดความสะดวกในการยื่นคำร้องได้แก่ผู้ เสียหายและจำเลยทั่วประเทศ นอกจากนี้ การมีคณะอนุกรรมการฯทำให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความรวดเร็วขึ้น ภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

 

3.ผู้ร้องขอมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฯได้ ต่อคณะกรรมการ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเป็นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ สามารถอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ที่คำวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของคณะกรรมการ โดยยื่นต่อสำนักงาน หรือต่อศาลชั้นต้นที่ตนมีภูมิลำเนา เพื่อส่งให้ไปให้ศาลอุทธรณ์ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด (มาตรา 25)

 

4. เพิ่มเติมความผิดท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวให้มีฐานความผิดมากขึ้น โดยให้มีความผิดเกี่ยวกับภยันตรายแก่ประชาชน มาตรา 224 มาตรา 238 ความผิดต่อเสรีภาพ มาตรา 309 มาตรา 310 มาตรา 311 มาตรา 312 ทวิ มาตรา 313 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ มาตรา 336 มาตรา 339 มาตรา 339 ทวิ มาตรา 340 มาตรา 340 ทวิ และความผิดฐานบุกรุก มาตรา 365 ส่วนความผิดที่มีอยู่เดิม คือ ความผิดเกี่ยวกับเพศ มาตรา 276 ถึงมาตรา 287 ความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย มาตรา 288-294 มาตรา 295-300 มาตรา 301-305 และมาตรา 306-308 ยังคงเรียกค่าตอบแทนได้เช่นเดิม

 

การแก้ไขเพิ่มเติมในสี่ประการหลักนี้ เป็นความก้าวหน้าของการแก้ไขปัญหาเพื่อให้มีการร้องขอมากขึ้นและมีกระบวนการ พิจารณาคำขอรวดเร็วขึ้น แต่ยังคงมีปัญหากรณีผู้ต้องหาถูกจับผิดตัว และได้รับการปล่อยก่อนที่จะสั่งฟ้อง และกรณีที่ยังคลุมเครือกรณีที่จำเลยถูกยกฟ้องเพราะพยานหลักฐานไม่ชัดแจ้งจึง ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ว่าจะวินิจฉัยให้ได้รับค่าทดแทนอย่างไร

 

ทั้งนี้ทางแก้ไขในปัจจุบันทางกระทรวงยุติธรรมได้เยียวยาสิทธิให้แก่ผู้ต้องหาดังกล่าวจากกองทุนยุติธรรม แต่การแก้ไขปัญหานี้ยังคงต้องมีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยค่าตอบแทนผู้เสียหาย ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยให้ครอบคลุมถึงกรณีดังกล่าวด้วยซึ่งอาจต้อง แก้ไขชื่อกฎหมายให้ครอบคลุมถึงผู้ต้องหาด้วยอีกประการหนึ่ง อย่างไรก็ดีการแก้ไขปัญหาตามพระราชบัญญัติฉบับที่สองนี้นับว่าเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไป สู่ประสิทธิภาพของการเยียวยาผู้เสียหายและการจ่ายค่าทดแทนแก่จำเลยที่ได้มาตรฐานสากลต่อไป



03/Sep/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา