ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

1 กันยายน 2559 ประกาศใช้ระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นคำร้อง การพิจารณา และการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ พ.ศ. 2559

บุคคลใดเห็นว่าตนได้รับหรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และมิใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาล หรือที่ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเด็ดขาดแล้ว ให้มีสิทธิยื่นคำร้องหรืออาจขอให้องค์กรที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ วลพ. เพื่อพิจารณาวินิจฉัย

 

ผู้ร้องอาจร้องด้วยวาจาต่อผู้รับคำร้อง ยื่นคำร้องด้วยตนเอง ส่งทางไปรษณีย์หรือยื่นผ่านช่องทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ในกรณียื่นคำร้องโดยส่งทางไปรษณีย์ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันยื่นคำร้อง

 

ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นหรือส่งคำร้องต่อกรมหรือหน่วยงานอื่นตามที่กรมประกาศกำหนดในจังหวัดให้ยื่นหรือส่งคำร้องต่อศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือหน่วยงานอื่นตามที่กรมประกาศกำหนด

ในกรณีร้องด้วยวาจา ให้ผู้รับคำร้องบันทึกถ้อยคำของผู้ร้องและให้ผู้ร้องและผู้รับคำร้องลงลายมือชื่อในคำร้องนั้นไว้เป็นหลักฐาน

การยื่นคำร้องให้ยื่นภายในหนึ่งปีนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบเหตุแห่งการร้องและในกรณีทำคำร้องเป็นหนังสืออย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังนี้
(1) ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้อง
(2) ชื่อและที่อยู่ของผู้ถูกร้อง
(3) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุที่เห็นว่าตนได้รับหรือจะได้รับความเสียหายในลักษณะที่เป็นการ
เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
(4) พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
(5) คำขอหรือความประสงค์ของผู้ร้อง
(6) ลายมือชื่อของผู้ร้อง


อ่านทั้งฉบับกดที่นี่



05/Sep/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา