ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมมีสิทธิดังต่อไปนี้
1. แจ้งหรือขอให้เจ้าพนังงานแจ้งให้ญาติหรือบุคคลที่ไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ถูกควบคุม
2. พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
3. ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจ เข้าฟังการสอบปากคำของตนในชั้นสอบสวน
4. ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อญาติได้ตามสมควร
5. ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็ว เมื่อเกิดการเจ็บป่วย
เมื่อมีการยื่นฟ้องต่อศาลเป็นจำเลยแล้ว จำเลยมีสิทธิดังต่อไปนี้
1. ได้รับการพิจารณาด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม
2. แต่งทนายความแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือชั้นพิจารณาในศาลชั้นต้น ตลอดจนชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
3. ปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
4. ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐานและคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้นๆ
5. ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาของศาล และคัดสำเนาหรือขอรับสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียม
6. ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน
การขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาล
การขอประตัว คือ การขออนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย พ้นการควบคุมของเจ้าพนักงานหรือศาล ตามระยะเวลานานเกินกว่าความจำเป็นในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี
การขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาล จะทำได้ในชั้นใดบ้าง ?
1. เมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่ยังมิได้ถูกฟ้อง ให้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อพนักงานสอบสวนหรือพักงานอัยการแล้วแต่กรณี
2. เมื่อผู้ต้องหาต้องขังตามหมายศาล และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลให้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวที่ศาล
3. เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องแล้วให้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวที่ศาล
กรณีที่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวผู้ขอประกันมีสิทธิประการใดบ้าง ?
ผู้ขอประกันมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ดังนี้
1. คำสั่งของศาลชั้นต้นให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1
2. คำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้อุทธรณ์ให้ประกันตัวยืนตามศาลชั้นต้นให้เป็นที่สุด
ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอประกันตัวใหม่
คดีที่ถูกฟ้องต้องใช้วงเงินประกันเท่าไร ?
สามารถขอตรวจสอบวงเงินประกันในการให้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ หรือเว็บไซด์ของศาล
หลักประกันใดบ้างที่สามารถใช้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ ?
1. เงินสด
2. หลักทรัพย์อื่น เช่น
- โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3)
- พันธบัตรรัฐบาล สลากออกสิน
- สมุดเงินฝากประจำหรือใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร
- หนังสือค้ำประกันหรือหนังสือรับรองของธนาคาร
- หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย
3. บุคคลเป็นหลักประกันโดยแสดงหลักทรัพย์
- ส่วนราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือข้าราชการหรือลูกจ้างทางทางราชการที่ต้องหาคดีอาญา
- เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการการเมืองหรือทนายความ (ใช้ตำแหน่งเป็นหลักประกันเฉพาะตนเองหรือญาติใกล้ชิด) โดยสามารถทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
- ผู้ประกอบวิชาชีพ เช่นแพทย์ เภสัชกร พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ผู้สอบบัญชี ครู ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน ฯลฯ เมื่อตกเป็นผู้ต้องหามหาหรือจำเลย อาจใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้ สำหรับกรณีความผิดที่ถูกกล่าวหาเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยทำสัญญาประกัน ได้ในวงเงินไม่เกิน 15 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
หลักฐานที่ใช้ประกอบการประกันตัว
1. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาของผู้ต้องหาหรือจำเลยและของผู้ขอประกัน
2. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาของผู้ต้องหา จำเลย และผู้ขอประกัน
3. หากผู้ประกันสมรสแล้ว ต้องให้คู่สมรสให้ความยินยอมพร้อมใบสำคัญการสมรส สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรสหรือบัตรที่ทางราชการออกให้ หากหย่าจากคู่สมรสแล้ว ให้นำใบสำคัญการหย่า พร้อมสำเนา หากคู่สมรสเสียชีวิตแล้ว นำใบมรณบัตรหรือทะเบียนบ้าน ประทับคำว่า “ตาย” หน้าชื่อคู่สมรสพร้อมสำเนามายื่น
3. หากมีการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล ให้นำใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล พร้อมสำเนามายื่น
4. ในกรณีวางสมุดเงินฝากประจำของธนาคาร ต้องมีหนังสือรับรองยอดเงินคงเหลือปัจจุบันของธนาคาร ซึ่งออกให้ไม่เกิน 1 เดือน มายื่น
5. ในกรณีวางโฉนดที่ดิน น.ส. 3 ก. น.ส.3 ต้องมีหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินของเจ้าพนักงานที่ดินหรือนายอำเภอท้อง ที่ ซึ่งออกให้ไม่เกิน 4 เดือน มายืน
6. ในกรณีที่ประกันด้วยตำแหน่งหน้าที่ ให้นำหนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะ ตำแหน่ง ระดับ อัตราเงินเดือนที่เป็นปัจจุบันไม่เกิน 1 เดือนมายื่น
· ในกรณีที่ใช้หลักทรัพย์และบุคคลเป็นหลักประกันจะต้องวางเงินจำนวน 2,500 บาท ต่อการประกันจำเลย 1 คน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีกรณีมีการผิดสัญญาประกัน
· กรณีที่ผู้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ต้องการมอบอำนาจให้ผู้อื่น(ญาติ) นำหลักฐานของตนมาประกัน ใบมอบอำนาจต้องทำ ณ ที่ว่าการอำเภอซึ่งที่ดินตั้งอยู่ โดยมีนายอำเภอหรือพนักงานฝ่ายปกครองลงลายมือชื่อรับรองและประทับตราเป็น สำคัญด้วย
เรียบเรียงโดย : ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 22 พฤศจิกายน 2556
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...