ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

คลายทุกข์ชาวบ้าน: หญิงที่หย่ากับสามีต้องรอ ๓๑๐ วันจึงจะทำการสมรสใหม่ได้

ปัญหาครอบครัวเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือ เรื่องการสมรส ซึ่งการสมรสตามกฎหมายได้กำหนดเงื่อนไข ไว้หลายประการ ดังนี้

๑.การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้

๒.การสมรสจะกระทำมิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

๓.ชาย-หญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาก็ดีเป็นพี่น้อง ร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี จะทำการสมรสกันไม่ได้ ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสายโลหิต โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

๔.ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้
 
๕.การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชาย-หญิงยินยอมเป็นสามี ภริยากันและต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผย ต่อหน้านายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย เมื่อทำการสมรสกันแล้ว หากอยู่ด้วยกันด้วยดีก็จะไม่มีประเด็นที่เป็นปัญหา แต่จากข้อมูลสถิติในการหย่าร้างกันมีค่อนข้างสูง สำหรับประเทศไทย เมื่อหย่าขาดจากกันแล้ว การสมรสใหม่ของฝ่ายชายไม่มีปัญหา สามารถสมรสใหม่ได้ทันที แต่หญิงที่การสมรสสิ้นสุด มีข้อจำกัดทางกฎหมาย กล่าวคือ
 
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติเอาไว้ในมาตรา ๑๔๕๓ หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่าสามร้อยสิบวัน เว้นแต่ (๑) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น (๒) สมรสกับคู่สมรสเดิม (๓) มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตร หรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์ หรือ (๔) มีคำสั่งของศาลให้ สมรสได้

เหตุที่กฎหมายห้ามหญิงที่หย่าหรือการสมรสสิ้นสุดจะทำการสมรสได้เมื่อครบ ๓๑๐ วัน เพื่อป้องกันการจะพิสูจน์ว่า บุตรที่เกิดขึ้นหลังการหย่าหรือการสมรสสิ้นสุดนั้นเป็นบุตรของสามีคนเดิม หรือเป็นบุตรของสามีคนใหม่ อันอาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร ค่าอุปการะเลี้ยงดู และทรัพย์มรดกจึงต้องใช้เกณฑ์ ๓๑๐ วัน เนื่องจากหญิงจะตั้งท้อง และคลอดไม่เกินจากกำหนดเวลาดังกล่าวนี้

หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- เสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2559
กับ : วิเชียร ชุบไธสง


25/Sep/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา