ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

คนไทยจนหนักสินทรัพย์ต่อหัวต่ำ แบกหนี้มากสุดในเอเชีย-อเมริกาและยุโรปความมั่งคั่งวูบ แนวหน้า 1 ต.ค. 2559

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่ม อลิอันซ์ ยักษ์ใหญ่วงการการเงิน และประกัน และการลงทุน ของเยอรมนี ได้เปิดเผย “รายงานความมั่งคั่งทั่วโลก” (“Global Wealth Report”) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสินทรัพย์และสถานการณ์ของหนี้ครัวเรือนในกว่า 50 ประเทศ โดย ดร.ไมเคิล ไฮส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มอลิอันซ์ เยอรมนี ผู้ถือหุ้นหลักของ บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต เปิดเผยว่า พัฒนาการของสินทรัพย์ทางการเงินได้มาถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ และเห็นได้ชัดว่าการดำเนินนโยบายการเงินที่สุดโต่งกำลังไร้ผล แม้แต่ต่อราคาสินทรัพย์เอง เป็นผลให้ตัวขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับการเติบโตของสินทรัพย์ไม่มีเหลืออยู่เลย ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยยังคงขยับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีตัวช่วยอื่นที่จะมาสนับสนุนการเติบโต

 

ทั้งนี้ในรายงานดังกล่าวระบุว่า ในปี 2559 นี้ อัตราการเจริญเติบโตที่ชะลอตัวลงเกิดขึ้นในยุโรป สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งหนักที่สุด ในยุโรปตะวันตก (เติบโต 3.2%) และสหรัฐอเมริกา (เติบโต 2.4%) ถือเป็นการเติบโตของสินทรัพย์ลดลงมากกว่าครึ่ง ในขณะที่ เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) สินทรัพย์ทางการเงินขยายตัวถึง 14.8% ทั้งนี้ สินทรัพย์ทางการเงินรวมทั่วโลก จำนวน 155 ล้านล้านยูโร (6,000 ล้านล้านบาท) อยู่ในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) คิดเป็น 18.5% ตัวเลขนี้แสดงว่าไม่เพียงแต่สัดส่วนของสินทรัพย์ที่ถือครองโดยภูมิภาคนี้มี มากขึ้นถึงสามเท่านับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา แต่ส่วนแบ่งของภูมิภาคขณะนี้ดีกว่ายูโรโซน ( 14.2%) อย่างเห็นได้ชัด

 

ขณะที่หนี้ภาคครัวเรือนในปี 2558 อยู่ที่ 4.5% ขยายตัวในอัตราเดียวกันกับในปี 2557 โดยรวมแล้ว หนี้ภาคครัวเรือนสูงถึง 386 ล้านล้านยูโร (1.5 หมื่นล้านล้านบาท) ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์จะเห็นได้ว่า ในแต่ละภูมิภาคมีพัฒนาการที่แตกต่างกันมาก อาทิ ในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) การเติบโตของหนี้สูงขึ้น และในบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ หรือ มาเลเซีย อัตราส่วนหนี้ เช่น หนี้สินภาคครัวเรือนวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อผลผลิตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับ เดียวกับที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์ หรือ สเปน ที่หนี้สำหรับที่อยู่อาศัยพุ่งทะยานสูงขึ้น

 

ขณะที่ประเทศไทย การเติบโตของหนี้สินภาคครัวเรือนมีอัตราสูงกว่าการเติบโตของสินทรัพย์ โดยที่เงินฝากและสินทรัพย์ รวมถึงประกันชีวิตและกองทุนบำเหน็จบำนาญเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 2% และสินทรัพย์ในหลักทรัพย์ลดลง 10% เนื่องจากตลาดหุ้นไทยร่วงหนัก ทั้งนี้ด้วยภาวะการเติบโตอย่างสม่ำเสมอของสินเชื่อ ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนต่อ GDP เพิ่มขึ้นจาก 45.1% เป็น 81.6% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยอัตราส่วนสินทรัพย์ต่อ GDP และปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 107.9% ในปี 2548 เป็น 119.2% ณ สิ้นปี 2558 ส่งผลให้ภาคครัวเรือนไทยมีอัตราส่วนสินทรัพย์ต่อหนี้สินเลวร้ายที่สุดจากทุก ประเทศในแถบเอเชียที่รายงานนี้ได้ทำการวิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีสินทรัพย์ทางการเงินต่อหัวสุทธิอยู่ในอันดับที่ 45 ในการจัดอันดับโลก และอันดับที่ 8 ในการจัดอันดับเอเชีย

 

ทั้งนี้ สินทรัพย์ทางการเงินรวมต่อหัวของประเทศไทยคิดเป็นจำนวนเงิน 6,070 ยูโร (238,000 บาท) แต่หลังจากหักหนี้สินแล้ว สินทรัพย์ทางการเงินสุทธิของคนไทยเฉลี่ยหดตัวลงเหลือเพียง 1,920 ยูโร (75,000 บาท) จำนวนเงินนี้ลดต่ำลงในประเทศอินเดียและอินโดนีเซีย และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีสินทรัพย์สุทธิต่อหัวสูง เช่น ประเทศมาเลเซีย ซึ่งถูกมองว่ากำลังจะเป็นประเทศที่ร่ำรวยในภูมิภาคนี้ ค่าเฉลี่ยของประเทศมาเลเซียตอนนี้คิดเป็น 4 เท่าของค่าเฉลี่ยสินทรัพย์สุทธิต่อหัวของคนไทย นั่นคือ 7,670 ยูโร (300,456 บาท) ขณะที่ในประเทศญี่ปุ่นสินทรัพย์ทางการเงินสุทธิต่อหัวสูงถึง 83,890 ยูโร (3,286,215 บาท) ซึ่งมากกว่าของประเทศไทยถึง 43 เท่า ดังนั้น ภาคครัวเรือนไทยยังคงต้องพยายามที่จะลดภาระหนี้เพื่อช่วยฟื้นฟูสถานะทางการเงินให้ดีขึ้น



02/Oct/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา