ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กกจ.เตือนนายจ้างไม่แจ้งต่อใบอนุญาตแรงงานต่างด้าวกิจการประมงทะเล-แปรรูปสัตว์น้ำ ตรวจเข้มเอาผิดจี้เร่งยื่นจดทะเบียนก่อน 30 ธ.ค.นี้ - แนวหน้า 23 พ.ย. 2559

นายสิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ต.ค. เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) โดยให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ในกิจการประมงทะเลและแปรรูปสัตว์น้ำ รวมถึงบุตรซึ่งเป็นผู้ติดตามอายุไม่เกิน18 ปี ที่ใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุปี 2559 ขยายระยะเวลาอยู่ในราชอาณาจักรออกไปจนถึงวันที่ 1 พ.ย. 2560 เท่ากันทั้ง2 กลุ่ม เพื่อไปตรวจสัญชาติ

 

ส่วนกลุ่มที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุในปี 2560 และ2561 ไม่ต่ออายุให้ แต่ต้องไปตรวจสัญชาติ ภายในกำหนดระยะเวลาที่เหลืออยู่ เมื่อได้รับการตรวจสัญชาติ และได้รับหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางแล้ว จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศ และอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 1 พ.ย. 2560 ก่อน และขอต่ออายุได้อีกครั้งเดียวไม่เกิน 2 ปี โดยมีแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่ใบอนุญาตสิ้นสุดในปี 2559 ในกิจการประมงทะเล จำนวน 21,557 คน กิจการแปรรูปสัตว์น้ำ จำนวน 54,591 คน

 

นายสิงหเดชกล่าวถึงขั้นตอนการจดทะเบียน ว่า 1.นายจ้างแจ้งบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดใน 22 จังหวัดชายทะเล และที่สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ 2.นำแรงงานต่างด้าวไปตรวจสุขภาพ และทำประกันสุขภาพ ในโรงพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 3.รายงานตัวเพื่อขอรับบัตรใหม่ ที่ทำการปกครอง 4.ขออนุญาตทำงาน ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดใน 22 จังหวัดชายทะเล และกรุงเทพฯ ในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ และ 5. แรงงานต่างด้าวไปตรวจสัญชาติ ซึ่งจะได้รับหนังสือเดินทาง เอกสาร ใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือเอกสารรับรองบุคคล และได้รับการตรวจลงตรา (VISA) อนุญาตให้ทำงานได้จนถึงวันที่ 1 พ.ย.2560 เท่ากันทุกคน และขอต่ออายุได้อีกไม่เกิน 2 ปี

 

ทั้งนี้ผลการจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1-17 พ.ย. ที่ผ่านมา มีแรงงานต่างด้าวมารายงานตัวขอรับบัตรใหม่ ในกิจการประมงทะเล จำนวน 4,841 คน แบ่งเป็นสัญชาติกัมพูชา 1,853 คน ลาว103 คน เมียนมา 2,885 คน นายจ้าง 1,143 ราย กิจการแปรรูปสัตว์น้ำ 4,108 คน แบ่งเป็นแรงงาน 4,097 คน ผู้ติดตาม 11 คน เป็นกัมพูชา 68 คน ลาว 22 คน เมียนมา 4,018 คน นายจ้าง 330 ราย

 

นายสิงหเดชกล่าวว่า งานประมง เป็นงานค่อนข้างหนักกว่างานประเภทอื่น จึงไม่มีคนอยากทำ ไทยกับเมียนมามีเอ็มโอยูทั้งงานบนบกและงานในน้ำ แต่งานบนเรือกลับไม่ได้รับความสนใจ ทุกคนเลือกทำงานบนฝั่งกันหมด ถ้าผู้ประกอบการหาวิธีจูงใจลูกจ้าง ให้ผลตอบแทนดี ก็คงไม่มีใครหนีขึ้นฝั่งไปทำงานอื่น ทั้งที่คนก็มีความพร้อมในการทำงาน แต่ขาดแรงจูงใจ ดังนั้น จึงต้องหาแรงจูงใจให้คนต่างด้าว แม้กระทั่งคนไทยที่เข้ามาทำอาชีพนี้ก็ตาม ทางประมงจึงต้องไปดูว่าจะมีวิธีการอะไร เพราะถ้าเพียงค่าแรงขั้นต่ำคงไม่จูงใจ อาจจะต้องไปดูว่าจะเป็นค่าตอบแทนตามระยะทางหรือน้ำหนักปลาที่หาได้หรือไม่ถ้าหาได้มากค่าตอบแทนก็มากด้วย

 

สำหรับการต่อใบอนุญาตทำงานในครั้งนี้ เป็นกลุ่มที่ใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในปี 2559 อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นการเปิดจดทะเบียนใหม่ นายจ้างควรรีบนำแรงงานต่างด้าวฯ ไปจดทะเบียนเพื่อขออนุญาตทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนด ระหว่างวันที่ 1 พ.ย.-30 ธ.ค. 2559 เพราะหากพ้นกำหนด จะตรวจสอบปราบปราม ดำเนินคดีอย่างเคร่งครัด

 

หากลักลอบจ้างแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 โทษปรับสูงสุด 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน ส่วนแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบทํางาน จะมีโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับสูงสุดถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

“ถึงเวลาที่ต้องมาดูยุทธศาสตร์ในเรื่องการพึ่งพาแรงงานต่างด้าว ถ้างานอะไรไม่ขาดก็ไม่ควรเอาเข้ามา ต้องมีความพอดีต่อไปจะไม่เปิดให้เข้ามาแบบเดิมอีก ไม่ว่าจะเป็นงานเซ็กเตอร์ธรรมดา ประมง หรือแปรรูปสัตว์น้ำ จะต้องเข้ามาแบบเอ็มโอยูเท่านั้น โดยในวันที่ 29 พ.ย. กัมพูชา จะออกพาสปอร์ตให้คนของเขา 2.2 แสนเล่ม ทางเมียนมา เตรียมทีมงานมา 5 ชุด เพื่อออกซีไอหรือเอกสารสำคัญประจำตัว ถ้าเป็นแบบนี้ทั้งหมดต่อไปจะเป็นระบบถูกต้อง มีพาสปอร์ต ขอเวิร์กเพอร์มิตทำงาน ได้รับสิทธิตามกฎหมาย เข้าถึงการรักษาพยาบาล พวกบัตรสีชมพูจะไม่มีอีกแล้ว จึงขอให้กลุ่มที่เหลือรีบมาแจ้งจดทะเบียน ถ้าไม่มีเอกสารประจำตัวจะต้องถูกส่งกลับ” นายสิงหเดช กล่าว



28/Nov/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา