ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า ภายหลังมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2559 ได้มอบหมายกรมราชทัณฑ์ ดำเนินการตามขั้นตอนการปล่อยตัวผู้ต้องขัง ที่เข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ ว่าได้สั่งการให้นายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ทำหนังสือแจ้งไปเรือนจำทุกแห่ง เพื่อให้แต่ละเรือนจำคัดกรองและตรวจสอบผู้ต้องขัง ก่อนจะนำเสนอศาลในพื้นที่ เพื่อให้ศาลพิจารณาออกหมายปล่อยต่อไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตนยังไม่สามารถระบุได้ว่าในครั้งนี้จะมีผู้ต้องขังที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณได้รับพระราชทานอภัยโทษตาม พ.ร.ฎ.นี้กี่รายเนื่องจากต้องรอการตรวจสอบรายชื่อผู้ต้องขังจากทางเรือนจำก่อน
นายชาญเชาวน์ กล่าวด้วยว่า ได้เน้นย้ำให้ผู้บัญชาการเรือนจำทุกแห่งได้แจ้งเรื่องบริการให้กับผู้ต้อง ขังที่ได้รับการปล่อยตัวพ้นเรือนจำได้ทราบด้วย เนื่องจากจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันทำงานแบบบูรณาการตามมติ ครม. ในการช่วยเหลือผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัวคอยให้บริการ เช่น กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จึงอยากให้ผู้ต้องขังกลุ่มนี้ไปขอรับบริการได้ยังหน่วยงานดังกล่าว ซึ่งจะคอยให้คำปรึกษาทั้งในเรื่องการจัดหาอาชีพและสุขภาพ ทั้งนี้กรณีถ้าผู้ต้องขังรายนั้นๆ ได้รับการปล่อยตัวพ้นเรือนจำ หรือหมายลดวันต้องโทษ ซึ่งเป็นกรณีไป ยืนยันว่าผู้ต้องขังที่ได้รับการอภัยโทษในครั้งนี้ต้องเป็นผู้ต้องขังที่ อยู่ในชั้นดี ชั้นดีมาก และชั้นเยี่ยม ซึ่งเป็นกระบวนการพิจารณาและการคิดมาชั้นหนึ่งแล้ว หากเรือนจำไหนพร้อมก็สามารถปล่อยตัวทันที โดยจะไม่มีการปล่อยเป็นรอบเหมือนครั้งที่ผ่านมา
ด้านนายกอบเกียรติกล่าวว่า เบื้องต้นคาดว่าผู้ต้องขังประมาณ 1 แสนรายจากเรือนจำทั่วประเทศ จะได้รับสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษครั้งนี้ ซึ่งหมายถึงการปล่อยตัวและลดวันต้องโทษ ซึ่งกลุ่มที่จะได้รับการปล่อยตัวพ้นเรือนจำ คาดว่าประมาณ 30,000 ราย โดยรวมถึงกลุ่มที่ลดวันต้องโทษ และครบเงื่อนไขการปล่อยตัวเหมือนครั้งที่ผ่านๆมา สำหรับกลุ่มคดีความผิดตาม ม.112 จะได้รับการลดวันต้องโทษ
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับผู้ต้องขังที่เข้าข่ายที่ได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์พระราชกฤษฎีกาพระราช ทานอภัยโทษ จะมีทั้งสิ้นประมาณ 1 แสนราย จากเรือนจำทั่วประเทศ เป็นผู้ต้องขังตั้งแต่ชั้นดี – ชั้นเยี่ยม ลดวันต้องโทษ ตามชั้นนักโทษ ส่วนผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัวจะเป็นกลุ่ม ไปตามมาตรา 5 คือ ผู้ต้องกักขัง ผู้ทํางานบริการสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ และผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ นอกจากนี้ยังมีผู้ต้องขังที่ได้รับการลดวันต้องโทษ ตามมาตรา 7 ซึ่งผู้ต้องขังความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 112 จะได้รับการลดวันต้องโทษ ตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษฉบับนี้ด้วย ซึ่งกำหนดให้ผู้ต้องขังชั้นดี – ชั้นเยี่ยม ได้ลดวันต้องโทษ ตามลำดับชั้น ซึ่งชั้นเยี่ยมจะได้ลดวันต้องโทษครึ่งหนึ่ง หรือ 1 ใน 2 ในโทษที่เหลืออยู่ ส่วนชั้นดีมากได้ลดวันต้องโทษ 1 ใน 3 ชั้นดี ได้ 1 ใน 4
คลิกอ่านรายละเอียดทั้งหมดที่นี่
ที่มา มติชนออนไลน์
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...