ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

คลังเคาะลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยรอบสอง เม.ย.นี้ เตรียมเพิ่มเบี้ยยังชีพคนชรา-จน 1,500/เดือน 15 ม.ค. 2560 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า สศค.เตรียมเปิดรับลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยรอบใหม่ตามนโยบายของนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในช่วงเดือนเมษายน 2560 นี้ เพื่อนำข้อมูลมาออกแบบสวัสดิการให้กับประชาชน สิ่งที่จะดูมี 4 เรื่องคือ รายได้ อาชีพ สุขภาพ ที่อยู่อาศัย ขณะนี้กำลังพิจารณาเพิ่มเติมถึงสวัสดิการที่จะให้ผู้มีรายได้น้อย หลังจากรอบแรกนั้นมีการช่วยเหลือค่าครองชีพรายละ 1,500 บาท และ 3,000 บาท

นาย กฤษฎา กล่าวว่า นอกจากนี้ยังเตรียมเพิ่มเบี้ยยังชีพให้คนชราที่มีรายได้น้อย ให้เพียงพอกับการดำรงชีวิต โดยที่รัฐไม่ต้องควักงบประมาณเพิ่ม วิธีการคือให้คนชราที่มีฐานะ หรือไม่ต้องการเบี้ยยังชีพคนชราสละสิทธิ์ เพื่อนำเงินมาเพิ่มให้คนชราและจนแทน ขณะนี้คนชราได้รับเบี้ยยังชีพเดือนตั้งแต่ 600-900 บาท ตามช่วงอายุ ซึ่งตามทฤษฎีต้องมีรายได้ 1,200-1,500 บาทต่อเดือนจึงจะเพียงพอต่อการดำรงชีพ จากตัวเลขการลงทะเบียนรอบผู้มีรายได้น้อยพบว่าผู้ที่มาลงทะเบียน 8 ล้านราย เป็นคนชรากว่า 2 ล้านราย

"ยังไม่แน่ใจว่าจะเพิ่มให้ถึง 1,200-1,590 บาทหรือไม่ ต้องดูจำนวนที่จะสละสิทธิ์ก่อน โดยขณะนี้กำลังคิดแนวทางในเรื่องการสละสิทธิ์ควรทำอย่างไร แนวทางมีทั้งให้ติ๊กสละสิทธิ์ไปกับแบบแสดงรายการภาษีของกรมสรรพากร เหมือนกับกรณีเงินบริจาคพรรคการเมือง หรือไปสละสิทธิ์ที่สาขาของแบงก์รัฐ คนชราที่มาสละสิทธิ์สศค.อาจทำเหรียญเชิดชูเกียรติ กำลังหารือกับกรมธนารักษ์ในเรื่องจัดทำเหรียญ เพื่อให้คนชราที่ไม่รับเบี้ยรู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ทำไปด้วย" นายกฤษฎา กล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายอภิศักดิ์ สั่งการให้สศค.เร่งเปิดให้ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยรอบใหม่ เพื่อนำมาประเมินสวัสดิการภาครัฐ เช่น ลดค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารถไฟ รถเมล์ ผ่านระบบอีเพย์เมนต์ ซึ่งการลงทะเบียนรอบใหม่นี้คงจะไม่มีการแจกเงินแล้ว รวมถึงมีแนวคิดทำบัตรให้ผู้มีรายได้น้อย บัตรดังกล่าวจะได้แสดงชื่อและรูป พอนำบัตรแตะที่เครื่องจะได้รับส่วนลดบัตรดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นบัตรเงิน สด ถ้ารัฐจะให้สวัสดิการอะไรเพิ่มเติมเช่นเบี้ยคนชรา รัฐสามารถโอนเงินเข้าบัตรดังกล่าวได้ทันที



ที่มา มติชนออนไลน์



15/Jan/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา