ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ครม.ไฟเขียว แก้กม.ให้นายจ้างจ่ายชดเชยลูกจ้างเกษียณสูงสุด 10 เดือน 4 ม.ค. 60 sanook.com

ครม.อนุมัติแก้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน นายจ้างต้องจ่ายชดเชยลูกจ้างสูงสุด 300 วัน หรือ ประมาณ 10 เดือนเมื่อลูกจ้างเกษียณอายุ พร้อม ให้กำหนดอัตราจ้างขั้นต่ำ ลูกจ้างที่เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือลูกจ้างที่เป็นคนพิการ ผู้สูงอายุ คาดมีผลบังคับใช้ก่อนเดือน พ.ค.60

 

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการให้แก้ไขร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ที่ใช้งานมาเกือบ 20 ปีแลัว นับตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา ซึ่งมีบางมาตราบางบทบัญญัติไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป กระทรวงแรงงานจึงเสนอขอแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวเพื่อให้สามารถดูแลคุ้มครองแรงงานประเภทต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับการทำธุรกิจกับภาคเอกชนให้ดีขึ้น

 

โดยมีสาระสำคัญ 3 ประเด็นหลัก คือ

 

1.การเพิ่มอำนาจของคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำ การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างประเภทต่างๆ โดยจะสามารถครอบคลุมลูกจ้างที่เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือลูกจ้างที่เป็นคนพิการ ผู้สูงอายุ และในอนาคต หากคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำอยากจะเขียนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ สำหรับคนทั้ง 3 ประเภทก็จะสามารถกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำได้

 

2.การยกเลิกบทบัญญัติที่เคยกำหนดให้นายจ้างต้องส่งสำเนาข้อบังคับเกี่ยว กับการทำงานให้แก่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดขั้นตอนเพิ่มขึ้นสำหรับการทำธุรกิจ ก็จะแก้กฎหมายเป็นให้สามารถจัดเก็บสำเนาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานไว้ ณ สถานประกอบกิจการ หรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลาแทน และสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้จะสอดรับกับกฎเกณฑ์การประเมินของธนาคารโลกในการจัดอันดับความยากง่าย ในการประกอบธุรกิจ เพราะเราอยากให้ธุรกิจที่เปิดใหม่ ธุรกิจต่างชาติที่เข้ามามีความสะดวกในการจัดตั้งธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว

 

และ 3.การกำหนดให้เกษียณอายุคือการเลิกจ้าง ในอดีตการเกษียณอายุแล้วแต่หน่วยงาน องค์กรต่างๆ เป็นผู้กำหนด ลูกจ้างจะมีสิทธิ์ได้รับการชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ซึ่งในอดีตการเกษียณอายุธรรมดาอาจจะไม่ได้รับการชดเชย ทำให้เกิดการฟ้องร้องหลายครั้งและศาลได้ตีความแล้วว่าการให้ลูกจ้างเกษียณ อายุถือเป็นการเลิกจ้างต้องมีการชดเชย แต่กฎหมายใหม่จะให้ประโยชน์แก่ลูกจ้างที่เป็นผู้สูงอายุ ไม่ว่าใครที่มีอายุเข้าเกณฑ์การเกษียณอายุก็จะได้รับการชดเชย

 

แต่ในกรณีที่นายจ้างไม่ได้ระบุ เกี่ยวกับการเกษียณอายุของลูกจ้างไว้ในสัญญาจ้าง ให้ถือว่านายจ้างให้ลูกจ้างเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปี และได้รับเงินชด เชยตามกฎหมายกำหนดไว้ และเมื่อเกษียณอายุแล้วอาจจะทำสัญญาจ้างใหม่ที่อาจจะแตกต่างจากสัญญาเดิมก็ ได้ ซึ่งสัญญาใหม่จะเป็นไปตามข้อความเดิมหรือข้อความใหม่ก็ได้แต่อย่างน้อยจะทำ ให้ลูกจ้างได้รับการคุ้มครองว่าเมื่ออายุ 60 ปีแล้วต้องมีการเกษียณอายุต้องได้รับเงินชดเชยจากนายจ้าง ถือเป็นการบังคับนายจ้างจ่ายชดเชยซึ่งถือเป็นการปฏิรูปครั้งสำคัญในเรื่อง การคุ้มครองแรงงานที่จะตอบรับการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุต่อไป และจะกระทบต่อผู้สูงอายุในแต่ละปีจำนวน 3-4 แสนคน

 

นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า ในมาตราของกฎหมายใหม่เขียนไว้ชัดเจนว่า "ให้ถือว่าการเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้าง ในกรณีที่ไม่ได้ตกลง หรือกำหนดการเกษียณอายุของลูกจ้างไว้ให้ถือว่านายจ้างให้ลูกจ้างเกษียณอายุ เมื่อลูกจ้างอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 และอีกวรรค...ในกรณีที่ลูกจ้างที่เกษียณอายุลูกจ้างที่ได้รับการชดเชยตาม กฎหมายแล้ว ตกลงทำสัญญาใหม่โดยอาจจะแตกต่างไปจากสัญญาจ้างเดิมก็ได้"

 

"มีหลายกรณีที่ลูกจ้างอายุ 60 ปี แต่นายจ้างทำไม่รู้ไม่ชี้ปล่อยให้ทำงานไป จนกระทั่งทำไม่ไหวขอลาออกเองก็ไม่ได้รับเงินชดเชย ซึ่งอาจจะสูงถึงเกือบ 300 วัน หรือประมาณ 10 เดือน" นายกอบศักดื กล่าว

 

นอกจากนี้กฎหมายใหม่ยังระบุด้วยว่า ถ้าทำงาน 10 ปีขึ้นไปจะได้รับการชดเชยไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน ถ้าทำงานระหว่าง 6-10 ปี จะได้รับการชดเชยอย่างน้อย 8 เดือน, ทำงาน 3-6 ปี ต้องได้รับชดเชยอย่างน้อย 6 เดือน เป็นต้น

 

"ปัจจุบันนายจ้างรู้ว่าเป็นกฎเกณฑ์ที่ต้องมีค่าชดเชยแบบนี้จึงไม่กำหนด เรื่องเกษียณอายุไว้ ถ้าลูกจ้างลาออกเองในอนาคตก็เป็นการให้เงินโดยเสน่หา" นายกอบศักดิ์ กล่าว

 

ส่วนกรณีนายจ้างกำหนดการเกษียณไว้ที่อายุ 55 ปี หรือช่วงอายุใดก็แล้วแต่ให้ถือเป็นการเลิกจ้างก็ต้องมีการจ่ายชดเชยเช่นกัน ส่วนคนที่อายุเกิน 60 ปีมาแล้วก็น่าจะได้รับการชดเชยตามเวลาที่ทำงานเกินมา

 

นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้มีทั้งหมด 8 มาตรา ได้มีการหารือกฤษฎีกาแล้ว และตั้งใจให้ทันต่อการประเมินของธนาคารโลก (World Bank:WB)เรื่องความยากง่ายในการจัดอันดับการทำธุรกิจซึ่งจะมีการประเมินช่วง กลางปี จึงคาดว่ากฎหมายฉบับนี้จะออกมามีผลบังคับใช้ก่อนเดือน พ.ค.60



15/Jan/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา