ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
ครม.ไฟเขียว แก้ไขกฎหมายจราจรใหม่ เข้มรถตู้โดยสารไม่คาดเข็มขัดนิรภัย-ผู้ขับขี่ทำผิดซ้ำภายใน 1 ปี ปรับ 2 เท่า สั่งกฤษฎีกาศึกษาไม่จ่ายค่าปรับไม่ให้ภาษีแผ่นป้ายวงกลม
เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ .....) พ.ศ. ..... สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ฯ ได้แก่ 1) ปรับปรุงอัตราโทษปรับสำหรับความผิดลหุโทษที่พนักงานเจ้าหน้าที่ / พนักงานจราจร / พนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบให้เหมาะกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับประมวลกฎหมายอาญาที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมไปแล้วในมาตราต่างๆ เช่น มาตรการบังคับผู้ขับขี่ที่ได้รับใบสั่งแล้วไม่ไปชำระค่าปรับ / มาตรการนำรถที่ใช้ในการกระทำความผิดมาเก็บรักษาและกำหนดค่าใช้จ่ายในการเก็บ รักษา / การป้องปรามการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเกรงกลัวต่อการกระทำความผิด ส่งผลให้มาตรการป้องกันอุบัติภัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2) แก้ไขเพิ่มเติมน้ำหนักของรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจากเดิม 1,600 กก. เป็น 2,200 กก. ที่ไม่ต้องขับในช่องเดินรถด้านซ้ายสุดหรือช่องที่ใกล้เคียงกับช่องเดินรถ ประจำทาง
3) ผู้ขับขี่ต้องจัดให้คนโดยสารในรถทุกคนทุกที่นั่งรัดร่างกายด้วยเข็มขัด นิรภัยขณะโดยสารรถยนต์ (เดิมระบุเฉพาะผู้ขับขี่และผู้โดยสารตอนหน้า)
4) เพิ่มมาตรการบังคับผู้ขับขี่ที่ไม่ชำระค่าปรับตามใบสั่ง โดยกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ออกหนังสือแจงเตือนผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถให้มาชำระค่าปรับภายใน 15 วัน หากยังไม่ปฏิบัติให้ชะลอการรับชำระภาษีประจำปีไว้ก่อน และให้นายทะเบียนมีอำนาจยึดหรือพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของบุคคลนั้น
5) กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ / พนักงานจราจร / พนักงานสอบสวน มีอำนาจสั่งให้มีการทดสอบลมหายใจ ปัสสาวะ เลือดหรือวิธีการอื่นอย่างชัดแจ้งว่าผู้ขับขี่สุราหรือของเมาอย่าอื่นหรือ ไม่ ซึ่งต้องกระทำเท่าที่จำเป็นและสมควรโดยให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดเท่าที่จะกระทำได้และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและอนามัยของผู้ขับขี่ (ปัจจุบันไม่ได้ระบุว่าการทดสอบให้ใช้วิธีการใดบ้าง)
6) มาตรการยึดและเก็บรักษารถที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบางฐาน (ชั้นตำรวจ) ได้แก่ ฐานขับรถขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น / ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น / แข่งรถในทางโดยมิได้รับอนุญาต กำหนดให้เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษารถดังกล่าว (คำสั่ง คสช. 46/2558 มากำหนดไว้ในกฎหมายนี้)
7) เพิ่มอัตราโทษในความผิดฐานแข่งรถในทางโดยมิได้รับอนุญาต จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 6,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 เดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ (เดิมจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับ 2,000 – 10,000 บาท)
8) กำหนดความผิดและโทษของการรวมกลุ่มหรือมั่วสุมหรือพฤติการณ์ที่จะรวมกลุ่ม เพื่อมั่วสุมที่นำไปสู่ความผิดตามข้อที่ 7) จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับ 3,000 – 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
9) แก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอื่นๆ เป็นจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 10,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาต และเพิ่มมาตรการยึดรถในชั้นศาล (ไม่เกิน 7 วัน) ด้วย (เดิมจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 5,000 – 20,000 บาท)
9.1) หากกระทำความผิดตาม 9) เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ จำคุก 1 – 5 ปี ปรับ 20,000 – 100,000 บาท พักใช้ใบอนุญาตฯ ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตฯ
9.2) หากกระทำความผิดตาม 9) เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จำคุก 2 – 6 ปี ปรับ 40,000 – 120,000 บาท พักใช้ใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต
9.3) หากกระทำความผิดตาม 9) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 3 – 10 ปี ปรับ 60,000 – 200,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
10) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ 11) กำหนดให้ผู้บังคับการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดมีอำนาจสั่งยึดใบอนุญาตขับขี่ได้ด้วย
12) ผู้สั่งยึดใบขับขี่อาจบันทึกการยึดและคะแนน และดำเนินการอบรมทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิดซ้ำตั้งแต่ 2 ครั้งใน 1 ปี รวมทั้งสั่งพักการใช้ใบอนุญาตขับขี่ที่เสียคะแนนมากของผู้ขับขี่นั้นโดยมี กำหนดครั้งละไม่เกิน 90 วัน
13) ผู้ขับขี่ที่กระทำความผิดซ้ำภายใน 1 ปี ให้เพิ่มจำนวนค่าปรับขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 2 เท่าของจำนวนค่าปรับที่ได้ชำระในความผิดครั้งก่อน
14) ผู้ประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยรถแท็กซี่ที่ไม่จอดรถ ณ สถานที่ที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท (เดิม 1,000 บาท)
ขณะที่ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องการเชื่อมต่อข้อมูลกับกรมขนส่งทางบกในการออกใบ สั่ง เนื่องจากที่ผ่านมาไม่จ่ายค่าปรับกว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้จึงกำหนดให้สามารถชำระค่าต่อภาษีแผ่นป้ายวงกลมได้ แต่จะไม่ออกแผ่นป้ายวงกลมให้สำหรับผู้ไม่จ่ายค่าปรับ โดยจะมีการศึกษาและปรับแก้ในขั้นสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...