ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2549/2557 ระหว่างนายซิล โจทก์ และบริษัทดานซ์ จำเลย
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 โจทก์เป็นพนักงานของจำเลย ตำแหน่งสุดท้าย เป็นผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 140,000 บาท โจทก์ถูกจ้างเพื่อทำงานให้กับจำเลยและบริษัทในเครือจำเลยในโรงงานในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ต่อมาวันที่ 13 ตุลาคม 2552 จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์อันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างสำหรับ วันหยุดพักผ่อนประจำปี สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าใช้จ่ายให้สำนักงานกฎหมาย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม รวมเป็นเงิน 8,941,395.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และจำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์เป็นพนักงานแต่อย่างใด โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทฟู ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเทศจีน โจทก์และจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์เป็นนายจ้างลูกจ้างต่อกัน โจทก์ไม่ได้เสียหาย ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ 224,000 บาท และค่าชดเชยแก่โจทก์ 140,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง คำขอนอกจากนี้ให้ยก
ศาลฎีกาปรึกษาแล้ว เห็นว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นพนักงานจำเลยได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 140,000 บาท ตกลงจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน ต่อมาวันที่ 26 กันยายน 2551 เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมโจทก์ในข้อหาทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต วันที่ 11 มีนาคม 2552 นางสาวอัญ ได้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ถึงโจทก์ไม่ให้เข้าบริษัทจำเลย เมื่อนางสาวอัญ เป็นพนักงานจำเลยตำแหน่งเลขานุการ ดังนี้จึงฟังว่า จำเลยได้สั่งห้ามโจทก์เข้าบริษัทจำเลย และต่อมาโจทก์ถูกเนรเทศออกนอกราชอาณาจักร พฤติการณ์จึงอนุโลมฟังว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ การเลิกจ้างดังกล่าวถือได้ว่าไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
พิพากษายืน
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...