ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กสร. ย้ำใช้แรงงานเด็กผิดกม. อัตราโทษใหม่บังคับใช้แล้วปรับสูงสุด 2 ล้านบาท จำคุก 4 ปี - ThaiPR.net 24 ก.พ. 2560

กระทรวงแรงงาน โดย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เตือนนายจ้างใช้แรงงานเด็กต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เผยอัตราโทษใหม่บังคับใช้แล้ว ปรับสูงสุด ๒ ล้านบาท จำคุก ๔ ปี
 
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เป็นวันแรกที่ อัตราโทษใหม่ของกฎหมายคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กมีผลบังคับใช้ คือ หากมีการจ้างเด็กผิดกฎหมาย ได้แก่การจ้างเด็กอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดเข้าทำงาน (เด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ในงานทั่วไป งานเกษตรกรรม และเด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ในงานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล,งานประมงทะเล) การจ้างเด็กทำงานอันตราย และการจ้างเด็กทำงานในสถานที่ที่กฎหมายห้ามทำ จะมีโทษปรับสูงขึ้นตั้งแต่ ๔๐๐,๐๐๐ – ๘๐๐,๐๐๐ บาท ต่อลูกจ้างเด็กที่ผิดกฎหมาย ๑ ราย จำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ ขณะเดียวกันหากเด็กได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจหรือถึงแก่ความตาย โทษปรับสูงขึ้นตั้งแต่ ๘๐๐,๐๐๐ – ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ต่อลูกจ้างเด็กที่ผิดกฎหมาย ๑ ราย หรือจำคุกไม่เกิน ๔ ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ จึงขอย้ำเตือนนายจ้างที่มีการจ้างเด็กเข้าทำงานต้องขออนุญาตและปฏิบัติให้ถูกต้อง หากตรวจพบจะเอาผิดอย่างถึงที่สุด ทั้งนี้การจ้างแรงงานเด็กตามกฎหมายดังกล่าวเป็นกรณีการจ้างแรงงานเท่านั้นไม่ได้หมายรวมถึงการที่พ่อแม่ ผู้ปกครองให้เด็กทำงานในครอบครัว หรือช่วยงานในกิจการแต่อย่างใด
 
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยังได้สั่งการให้ กสร. พิจารณา ในเรื่องของการคุ้มครองแรงงานนอกระบบให้มากยิ่งขึ้น โดยในปี ๒๕๖๐ จะมีการพิจารณาออก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานนอกระบบ มาบังคับใช้ ควบคู่กับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อย่างไรก็ตามการออกกฎหมายจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะแรงงานในกลุ่มนี้มีการทำงานที่หลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มงานภาคการเกษตร และกลุ่มผู้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น
 

 



26/Feb/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา