ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

รัฐธรรมนูญ 2560: ประชาชนหนึ่งหมื่นคนสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ เมื่อ 1 พ.ค. 2560 โดย iLaw

การเข้าเสนอชื่อกฎหมายโดยประชาชน เป็นสิทธิของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 เช่นเดียวกับปัจจุบัน รัฐธรรมนูญ 2560 ก็ระบุ ให้ประชาชนมีสิทธิและมีส่วนร่วมทางการเมืองในการกำหนดอนาคตของตนเองและประเทศ ผ่านการเข้าชื่อเสนอกฎหมายด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คน สามารถรวมตัวกันเข้าชื่อเสนอร่างพ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของชาวไทยและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐต่อสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้การเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีหลักการสำคัญสามประการที่ประชาชนผู้ต้องการเสนอกฎหมายควรรู้

 

สามหลักการสำคัญประชาชนอยากเสนอกฎหมายต้องทำอย่างไร
หลักการแรก คุณสมบัติและจำนวนของประชาชน ที่ต้องการเข้าชื่อเสนอกฎหมายในรัฐธรรมนูญ 2560 ตามมาตรา 133 คือ ต้องเป็นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน  สามารถใช้สิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ได้ ซึ่งเมื่อเทียบกับรัฐธรรมนูญ 2550 และ 2540 จะพบว่า จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายในรัฐธรรมนูญ 2560 เท่ากับรัฐธรรมนูญ 2550 คือจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน ซึ่งลดลงจำนวนจากรัฐธรรมนูญ 2540 ที่เขียนให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน สำหรับลักคิดของการลดจำนวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ก็เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้สิทธิของประชาชนในการเสนอร่างกฎหมายให้สะดวกขึ้น 
 
หลักการสอง ร่างพ.ร.บ.ที่ประชาชนมีสิทธิเสนอ  ในรัฐธรรมนูญ 2560ตามมาตรา 133  กำหนดว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเสนอ ร่างพ.ร.บ.เฉพาะตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ เท่านั้น ซึ่งหลักการดังกล่าวคล้ายกับรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550ต่างแต่เพียงรัฐธรรมนูญ 2540และ 2550 เป็นหมวด แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ  ไม่ใช่หมวดหน้าที่ของรัฐ
 
หลักการสาม ข้อยกเว้นร่างพ.ร.บ.ที่ประชาชนมีสิทธิเสนอ ในรัฐธรรมนูญ 2560 ตามมาตรา 133 คือ หากเป็นร่างพ.ร.บ.เกี่ยวกับเงินต้องได้รับคำรับรองจากนายกรัฐมนตรีก่อน ซึ่งข้อยกเว้นร่างพ.ร.บ.ที่ประชาชนมีสิทธิเสนอนั้น รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ได้บัญญัติไว้เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ 2560
 

 

ตารางเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญ2540-2550-2560 ประเด็นสิทธิ-การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย   
ประเด็น รัฐธรรมนูญ 2560 รัฐธรรมนูญ 2550 รัฐธรรมนูญ 2540
คุณสมบัติและจำนวนของผู้มีสิทธิเสนอร่างพ.ร.บ. 

มาตรา 133 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า10,000 คน

มาตรา 163 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน  

มาตรา 170 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน

ร่างพ.ร.บ.ที่ประชาชนมีสิทธิเสนอ 

มาตรา 133 ประชาชนมีสิทธิเสนอ ร่างพ.ร.บ. เฉพาะตามที่บัญญัติไว้ใน

หมวด 3สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

หมวด 5หน้าที่ของรัฐ

มาตรา 163 ประชาชนมีสิทธิเสนอ ร่างพ.ร.บ. เฉพาะตามที่บัญญัติไว้ใน

หมวด 3สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย

หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

มาตรา 170 ประชาชนมีสิทธิเสนอ ร่างพ.ร.บ. เฉพาะตามที่บัญญัติไว้ใน

หมวด 3สิทธิและเสรีภาพของประชาชน

หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

ข้อยกเว้น ร่างพ.ร.บ.ที่ประชาชนมีสิทธิเสนอ 

มาตรา 133 หากเป็นร่างพ.ร.บ.เกี่ยวกับเงินต้องได้รับคำรับรองจากนายกรัฐมนตรี

มาตรา 163 หากเป็นร่างพ.ร.บ.เกี่ยวกับเงินต้องได้รับคำรับรองจากนายกรัฐมนตรี

มาตรา 171 หากเป็นร่างพ.ร.บ.เกี่ยวกับเงินต้องได้รับคำรับรองจากนายกรัฐมนตรี

 


12/May/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา