ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวงปรับแอลกอฮอล์ในเลือดจากเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เป็นหากผู้ขับขี่ที่อายุไม่ถึง 20 ปี ถ้ามีปริมาณ 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ให้ถือว่าเมาสุรา รวมถึงผู้ขับขี่ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถ ขณะที่ 1 มิ.ย.นี้ เมาเกิน 50 มก.ประกันไม่ต้องจ่าย - ประชาไท 1 มิ.ย.60

31 พ.ค. 2560 หลังจากเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.)เห็นชอบ แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฉบับที่ 16 ของ พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 ในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายด้านความปลอดภัยทางถนน ในเรื่องเมาและขับ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เสนอ โดยมีการปรับปรุงเกณฑ์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่ให้ถือว่าเมาสุรา จากเดิมกำหนดว่าปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ให้ถือว่าเมาสุรา แต่การปรับแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าว คือ ผู้ขับขี่ที่อายุไม่ถึง 20 ปี ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ให้ถือว่าเมาสุรา รวมถึงผู้ขับขี่ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถหรือผู้ขับขี่ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราว ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ให้ถือว่าเมาสุรา สำหรับบุคคลอื่นๆยังใช้กฎหมายเดิมคือ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

 

ล่าสุดวันนี้ (31 พ.ค.60) ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2560) ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมให้เหตุผลในหมายเหตุประกอบประกาศนี้ด้วยว่า เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่การขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน เนื่องจากปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดมีผลทําให้ ประสิทธิภาพในการควบคุมยานพาหนะลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยหรือมีประสบการณ์ในการขับขี่ ไม่เพียงพอ แม้จะมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเพียงเล็กน้อยก็มีผลทําให้ความสามารถในการควบคุมยานพาหนะ ลดลงได้ สมควรกําหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดให้เหมาะสําหรับผู้ขับขี่ดังกล่าว เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุ ทางถนนจากผู้ขับขี่ยานพาหนะที่เมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

เมาเกิน 50 มก.ประกันไม่ต้องจ่าย เริ่ม 1 มิ.ย.นี้

 

กรุงเพทธุรกิจออนไลน์ รายงานด้วยว่า สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. นี้ เป็นต้นไป คำสั่งนายทะเบียนเกี่ยวกับแบบข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารแนบท้ายของกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งส่งผลให้บุคคลที่ขับขี่รถยนต์ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หากทำประกันและเกิดอุบัติเหตุจะไม่ได้รับความคุ้มครองทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากการทำประกันภัยภาคสมัครใจ ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดต้องมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ถึงจะไม่ได้รับความคุ้มครอง

 

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ประสบภัยหรือบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายจากรถคันดังกล่าว ยังคงได้รับความคุ้มครองอยู่ โดยบริษัทที่รับทำประกันภัยของรถคันที่เป็นฝ่ายผิดจะยังชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เพราะหลังจากนั้นบริษัทประกันภัยจะไปไล่เบี้ยเรียกคืนค่าสินไหมทดแทนกับผู้ขับขี่ที่เมาต่อแทน ส่วนประกันภัยภาคบังคับยังคงให้ความคุ้มครองในกรณีบาดเจ็บและเสียชีวิตเช่นเดิม

 

"การปรับแก้ข้อยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์เรื่องลดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดให้ต่ำกว่าเดิมนั้น ได้มีการศึกษามาระยะหนึ่งแล้ว โดยหลายฝ่ายเห็นว่า ข้อยกเว้นในกรมธรรม์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่น้อยกว่า 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์นั้น ไม่สอดคล้องกับกฎกระทรวงฉบับที่ 16 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก ซึ่งบัญญัติว่าต้องมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดตรวจวัดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ให้ถือว่าเมาสุรา"

 

สุทธิพล กล่าวว่า ที่ผ่านมาผู้เอาประกันภัยรถยนต์ที่ดื่มสุรา เมื่อขับขี่รถยนต์แล้วเกิดอุบัติเหตุบริษัทประกันภัยก็ยังจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ ดังนั้นหากไม่มีการแก้ไขกฎหมายจะทำให้เสมือนเป็นการจูงใจให้คนที่ดื่มสุรานิ่งนอนใจว่าถึงแม้เมาแล้วขับรถยนต์ชนเกิดความสูญเสีย ก็ยังมีประกันภัยจ่ายแทน แต่เรื่องนี้ไม่ได้มีการดำเนินการแก้ไขกติกาในเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรม จนกระทั่งถึงรัฐบาลชุดปัจจุบัน



01/Jun/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา