ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๕๕๐/๒๕๕๘ (อ่านคำพิพากษาฉบับเต็ม click)
เรื่อง นายจ้างมีเจตนาย้ายสำนักงานจากกรุงเทพ ไปจังหวัดสมุทรสาคร โดยทยอยย้ายทีละแผนกรวมเวลา ๒ ปีเศษ จึงปิดการดำเนินการที่สาขากรุงเทพ แม้จดเปลี่ยนแปลงให้จังหวัดสมุทรสาครเป็นสำนักงานใหญ่และสำนักงานกรุงเทพเป็นสาขาก็ตาม ก็ถือเป็นการ “ย้ายสถานประกอบกิจการ” ตามมาตรา ๑๒๐ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๕๕๖/๒๕๕๙ (อ่านคำพิพากษาฉบับเต็ม click ) ทั้งนี้คดีนี้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)
เรื่อง แม้นายจ้างย้ายลูกจ้างไปเพียงบางแผนกไปอยู่โรงงานแห่งใหม่อันมิใช่สาขาเดิม ที่นายจ้างมีอยู่ก็ตาม แต่นายจ้างได้ปิดแผนกนั้นทั้งหมดถือเป็นการ “ย้ายสถานประกอบกิจการ” ตามมาตรา ๑๒๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
>>>>สรุปย่อคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๕๕๐/๒๕๕๘, ๙๕๕๖/๒๕๕๙
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...