ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
อ้างอิงตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๕๔๖๘/๒๕๕๔ เรื่อง จ้างสอนภาษาจีนจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมง แม้ส่งประกันสังคมก็ไม่ใช่จ้างแรงงาน
จำเลยจ้างโจทก์สอนเป็นหลักสูตรตามช่วงเวลาที่เรียกกันว่า “คอร์ส” เมื่อจบหลักสูตรแล้ว โจทก์ไม่ต้องไปสอนต่อ และหากจำเลยเปิดหลักสูตรใหม่ จำเลยจึงจ้างให้โจทก์สอนใหม่อีกครั้ง และโจทก์ได้รับค่าจ้างคำนวณเป็นรายชั่วโมงเฉพาะชั่วโมงที่โจทก์เข้าสอนจริงเท่านั้น
การจ้างงานสอนเช่นนี้เป็นลักษณะที่บ่งบอกถึงจำเลยมุ่งผลสำเร็จของงาน คือ ให้มีการสอนตามช่วงเวลานั้นจนสำเร็จเสร็จสิ้นไปเป็นสำคัญ หาได้มุ่งเน้นถึงแรงงานที่จำเลยจะได้รับจากการสอนของโจทก์ไม่
ไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลย และหากโจทก์ฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามจำเลยมีสิทธิลงโทษทางวินัยแก่โจทก์ได้
แสดงว่าจำเลยไม่มีอำนาจควบคุมบังคับบัญชาโจทก์ซึ่งมีอำนาจควบคุมบังคับบัญชาลูกจ้างเป็นสาระสำคัญของ
สัญญาจ้างแรงงาน
ดังนั้นนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลย มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของ ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์แต่ละช่วงเวลาจึงไม่ใช่ค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ แม้จำเลยจะยื่นแบบแสดงรายชื่อโจทก์ให้แก่สำนักงานประกันสังคม แสดงถึงฐานะที่จำเลยเป็นนายจ้างก็หาทำให้นิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างของโจทก์และจำเลยของกลายเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามความเข้าใจของโจทก์ไม่
เช่นเดียวกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๕๑๗/๒๕๕๗
เรื่อง จ้างสอนภาษาอังกฤษพิเศษในสถาบันการศึกษา จ่ายค่าตอบแทนรายชั่วโมงๆ ละ ๗๐๐ บาท และได้รับค่านายหน้าในกรณีหานักเรียนมาเรียนเดือนละ ๖,๐๐๐ บาท ไม่อยู่ในบังคับบัญชา ไม่ใช่นิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงาน
ลูกจ้าง โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าของสถาบันการศึกษา จ้างโจทก์เป็นลูกจ้างให้ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการ สำนักงานและครูสอนภาษาอังกฤษพิเศษ ตกลงค่าจ้างรายชั่วโมงๆ ละ ๗๐๐ บาท และค่านายหน้าในกรณีที่โจทก์สามารถหานักเรียนให้มาเรียนต่อคนเดือนละ ๖,๐๐๐ บาท
ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม
จำเลยให้การว่าโจทก์และจำเลยไม่มีฐานะเป็นนายจ้างลูกจ้างกัน เป็นลักษณะจ้างทำของ
ศาลแรงงานเห็นว่า จำเลยให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์จากผลสำเร็จของงานหาใช่จากการทำงาน การทำงานไม่เป็นกิจจะลักษณะ ดังเช่นจ้างแรงงานทั่วไป ไม่ต้องลงชื่อเข้าออก ไม่มีวันทำงานที่แน่นอน ทำงานประมาณสัปดาห์ละ ๓ วันเท่านั้น ไม่มีระเบียบการลา หากจะลาไม่ต้องขออนุญาต
จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเพียงผู้รับจ้างสอนและหานักเรียนมาสมัคร เรียนโดยได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าสอนและค่านายหน้าเท่านั้น จะได้รับต่อเมื่อทำงานเสร็จแล้ว อันมีลักษณะเป็นจ้างทำงานหาใช่สัญญาจ้างแรงงาน
โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘
โจทก์อุทธรณ์ว่าในลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...