ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

ดาวน์โหลด

 

สาระสำคัญ

  • ปรับปรุงพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 และพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนางจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559 โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

 

  • กำหนดให้มี “คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและกำกับบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว โดยให้คณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามพระราชกำหนดนี้ไปจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชกำหนดนี้

 

  • กำหนดให้การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยมี 2 กรณี ได้แก่ กรณีที่ผู้รับอนุญาตเป็นผู้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ , กรณีที่นายจ้างเป็นผู้นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี และต้องวางหลักประกันไว้กับอธิบดีเพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการที่นายจ้างได้นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ

 

  • กำหนดให้มี “กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนชื่อและวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าว  โดยให้รับโอนบรรดากิจการ เงิน สิทธิ และหนี้สินจากกองทุนเดิม

 

  • กำหนดการคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ขึ้นใหม่ ให้นายจ้างผู้รับอนุญาตและลูกจ้างผู้รับใบอนุญาตทำงานซึ่งมีการจ้างงานตามพระราชกำหนดนี้ อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533

 

  • แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจนายทะเบียนในการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตและเพิ่มบทบัญญัติเรื่องการประกาศรายชื่อนายจ้างที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติในเรื่องการให้คนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือไม่จ่ายเงินทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน



23/Jun/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา