ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ตู่ยอมถอย ม.44ชะลอพรก.ต่างด้าวยืดเวลา120วันก่อนบังคับใช้ ให้แรงงานไปตีทะเบียนใหม่ ก่อสร้าง-สวนยางกระทบอื้อ ข่าวสด 1 กรกฎาคม 2560

“บิ๊กตู่” ใช้ “ม.44” อีก แก้ “พ.ร.ก. แรงงานต่างด้าว” หลังบังคับใช้แล้วปัญหา-ผลกระทบอื้อ สั่งชะลอใช้ 3 มาตราสำคัญ เอาผิดนายจ้าง-ลูกจ้าง ออกไป 120 วัน “วิษณุ” ชี้เปิดช่องให้แรงงานต่างด้าวกลับไปขออนุญาตที่ประเทศต้นทาง อย่างถูกต้อง แต่ยกเว้นความผิด “ค้ามนุษย์” ระหว่างนี้ให้ผู้ประกอบการทำความเข้าใจกับลูกจ้างให้ถูกต้อง ขณะที่กลุ่มยางพาราภาคใต้ยื่นหนังสือ ย้ำได้รับผล กระทบ ต้องใช้แรงงานต่างชาติ ด้านอุตสาหกรรมก่อสร้างก็วุ่น แรงงาน 4-8 หมื่นคนหายไปทันที

 

จากกรณีผู้ประกอบการภาคเอกชนจากหลายภาคส่วน ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 หรือพ.ร.ก.ต่างด้าว ที่มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากกฎหมาย ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในทางปฏิบัติ มีบทลงโทษนายจ้างและลูกจ้างสูงเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบใน วงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอี ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ และกลุ่มวิถีชนที่จ้างแรงงานต่างด้าว

 

ความคืบหน้าเรื่องนี้ เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 30 มิ.ย. ที่อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก กทม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีหลายฝ่ายจี้ทบทวน พ.ร.ก.ต่างด้าว ว่าสั่งการให้กระทรวงแรงงานไปหามาตรการที่เหมาะสม โดยเฉพาะ ประเด็นที่หลายฝ่ายกลัวว่าจะเป็นปัญหา แต่สิ่งที่กลัวคือที่ผ่านมาทำผิดกันจำนวนมาก จึงต้องขึ้นทะเบียนทั้งในส่วนที่ทำงานอยู่แล้ว โดยเฉพาะแรงงานตามบ้าน ภาคธุรกิจขนาดย่อม และร้านค้าปลีก หากยกเลิกทั้งหมดก็ย่อมทำให้เดือดร้อน ส่วนจะออกเป็นคำสั่งตามอำนาจมาตรา 44 เพื่อแก้ปัญหาในช่วงเปลี่ยนผ่านนั้น หากจำเป็นก็ต้องใช้

 

“ถ้าอย่างอื่นไม่มีก็ต้องใช้มาตรา 44 ถามดูสิวันหน้าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่มีมาตรา 44 ไม่ใช่ว่าจะขอให้มีมาตรา 44 แต่นี่คือสิ่งที่ต้องคิดว่าวันนี้ที่มันแก้ได้อยู่บ้างเพราะมีมาตรา 44 แต่วันหน้าถ้ากฎหมายออกมาแล้วก็ต้องทำ ต้องรู้จักกฎระเบียบ ทำให้ถูกต้อง ไม่ใช่อะไรก็ไม่เอาสักอย่าง ให้รัฐผ่อนปรนไปเรื่อยแล้วเมื่อไหร่จะกลับสู่ความถูกต้อง ผมเข้าใจความเดือดร้อน แต่ถามว่าที่ผ่านมามีความสุขมากๆ แต่ไม่มีใครบอกว่าถูก หรือผิดกฎหมาย จะเอาอย่างไร จะไม่มีกฎหมายหรืออย่างไร ทีบางเรื่องบอกให้ประหารชีวิตไปเลย ทีเรื่องแบบนี้ให้ปรับไม่ปรับ” พล.อ. ประยุทธ์กล่าว

 

ต่อมาเวลา 12.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์เรียกนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน พร้อมด้วยนายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน เข้าหารือที่ตึกไทยคู่ฟ้า ถึงปัญหาจากการบังคับใช้ พ.ร.ก.ต่างด้าว โดยใช้เวลาหารือนาน 2 ชั่วโมง

 

จากนั้นนายวิษณุให้สัมภาษณ์ว่าจากการหารือกับภาครัฐ ตัวแทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ยื่นต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อขอให้ทบทวนพ.ร.ก.ต่างด้าว 

 

จากนั้นเข้าพบนายกฯ เพื่อรายงานข้อเสนอของภาคเอกชน 4 ข้อ คือ 1.ขอให้ตั้งหน่วย หรือศูนย์รับจดทะเบียนใหม่ 2.ขอให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมพิจารณาออกกฎหมายลูก 3.ขอให้พิจารณาแก้ปัญหาเงินชดเชย กรณีลูกจ้างหยุดงานกลับประเทศแล้วกลับเข้ามาทำงานใหม่ และควรให้ประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ให้นายจ้างและลูกจ้างเข้าใจง่ายว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เพราะกฎหมาย 145 มาตรา อ่านแล้วยังไม่รู้เรื่อง

 

นายวิษณุกล่าวว่าภาครัฐรับทราบข้อเสนอ 4 ข้อ รับได้หมดยกเว้นข้อที่ 1 เพราะเห็นว่าการเสนอให้ตั้งศูนย์ จะเอาตามความอยากได้ไม่ได้ มิฉะนั้นจะทำให้เกิดข้อติดขัด เนื่องจากประเทศไทยลงนามบันทึกความเข้าใจไว้กับเมียนมา ลาว และกัมพูชา ว่าจะแก้ปัญหาคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย และทำให้ถูกกฎหมายด้วยการส่งออก ถ้าไปเปลี่ยนตามข้อเสนอให้จดทะเบียนในไทย ก็จะไม่เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศ เหมือนไทยไปล้มการเจรจาที่ทำไว้

 

รองนายกฯ กล่าวว่าอีกทั้งจะเปิดโอกาสให้คนต่างด้าวที่รออยู่ตามแนวชายแดน ที่รอเข้าประเทศไทย ทะลักเข้ามาจดทะเบียนในไทยอีกเป็นจำนวนมากโดยผิดกฎหมายเข้าเมือง และยังมีปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ จึงต้องจัดทำให้เป็นระบบอย่างถูกต้อง ถ้าจะเปลี่ยนระบบใหม่จะเสียเวลาในการทำความเข้าใจ อาจส่งผลกระทบอีกหลายอย่าง ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงทำให้ต้องกลับมาคิดว่าทำอย่างไรกับพ.ร.ก.ฉบับนี้ที่กำหนดความผิดไว้สูง เช่น โทษปรับนายจ้างที่กำหนดไว้สูงสุดถึง 800,000 บาทต่อคนต่อราย

 

นายวิษณุกล่าวว่าเมื่อนำปัญหานี้รายงานนายกฯ จึงเห็นว่าไทยเคารพในพันธกรณีที่ตกลงกับประเทศอื่น ประเด็นหลักคือเรายังยึดเรื่องการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยจะไม่นำการใช้ หรือไม่ใช้พ.ร.ก.นี้มาเป็นอุปสรรคในการต่อต้านการค้ามนุษย์ แต่จะยิ่งเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะกรณีเจ้าหน้าที่รีดไถ หรือเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ต้องถูกลงโทษอย่างเฉียบขาด และเพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดจากพ.ร.ก. จึงเห็นชอบให้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ชะลอ หรือเลื่อนการบังคับใช้ 3 มาตรา คือ มาตรา 101 กรณีเอาผิดลูกจ้าง มาตรา 102 เอาผิดนายจ้างที่รับคนมาทำงานในอาชีพพิเศษบางอย่างโดยไม่รับอนุญาต และมาตรา 122 การรับคนที่ไม่มีใบอนุญาตมาทำงาน

 

 

รองนายกฯ กล่าวต่อว่ามาตราเหล่านี้เป็นเรื่องการเอาผิด และมีโทษหนักแก่นายจ้าง หรือลูกจ้าง ปรับตั้งแต่ 400,000-800,000 บาท ออกไปอีก 120 วัน โดยระหว่างนี้จะไม่จับกุม ยกเว้นกรณีการค้ามนุษย์ และในระหว่างที่เลื่อนออกไป ให้จัดการกับระบบแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายโดยไม่ได้รับอนุญาตตั้งแต่ต้น เดินทางกลับไปนอกประเทศ เพื่อขออนุญาตในประเทศของเขาให้ถูกต้อง ขณะที่กระทรวงแรงงานจะต้องเจรจาประสานขออนุญาตให้แรงงานประเทศนั้นๆ ขออนุญาตได้บริเวณชายแดน โดยไม่ต้องกลับเข้าไปภายในประเทศ โดยที่คนของประเทศนั้นสามารถมาตรวจสอบได้

 

นายวิษณุกล่าวว่านอกจากนี้ให้ประสานงานกับประเทศเมียนมา เพื่อออกใบอนุญาตบริเวณศูนย์พิสูจน์บุคคลเฉพาะแรงงาน เมียนมาที่มีอยู่ 5 แห่งในไทย ถ้ารัฐบาล เมียนมายินยอมก็ออกใบอนุญาตได้ หรืออาจมีช่องทางอำนวยความสะดวกอื่น เช่น การขอทางออนไลน์ เป็นต้น สำหรับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาถูกกฎหมาย แต่ทำงานผิดไปจากที่ได้รับอนุญาตนั้น เช่น อนุญาตให้ไปทำงานในพื้นที่หนึ่ง แต่กลับไปทำงานอีกพื้นที่หนึ่ง ถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย ก็จะอนุโลมให้ไปแจ้งได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด ว่าได้เปลี่ยนสถานที่จากเดิมที่ได้รับอนุญาต เพื่อให้ถูกกฎหมายต่อไป

 

“การออกคำสั่งหัวหน้าคสช. เพื่อผ่อนคลายปัญหาดังกล่าว โดยจะไม่ขัดกับพ.ร.ก. ที่ออกไปแล้ว และให้มีผลย้อนหลังไปถึง วันที่ 23 มิ.ย.2560 ด้วย เนื้อหาของคำสั่งนี้จะอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเดินทางกลับประเทศได้โดยไม่ผิดกฎหมาย และเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมระหว่างเดินทางกลับ หรือถูกรีดไถข่มขู่จากเจ้าหน้าที่ได้ ยกเว้นมีความผิดเรื่องค้ามนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงขอให้แรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หรือมีความผิดเงื่อนไขจากที่ได้รับอนุญาต ให้รีบไปดำเนินการให้ถูกต้อง ส่วนนายจ้างต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เพราะยังมีเวลาผ่อนผัน 120 วัน ขณะที่ผู้ประกอบการโรงงานควรทำความเข้าใจกับลูกจ้าง ว่าสามารถทยอยเดินทางกลับไปขออนุญาตให้ถูกต้อง จะได้ไม่เกิดปัญหาสุญญากาศ และเสียสภาพคล่องเพราะแรงงานไม่อยู่” นายวิษณุกล่าว

 

ผู้สื่อข่าวถามว่าทำไมจึงไม่ใช้มาตรา 44 มาแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวตั้งแต่ต้น นายวิษณุกล่าวว่าที่ไม่ออกมาตรานี้มาตั้งแต่ต้น เพราะเนื้อหายาว 145 มาตรา เนื่องจากคำสั่งมาตรา 44 เอาไว้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า และต้องไม่ยุ่งยากต่อการอ่านแล้วต้องมาตีความ แต่กฎหมายฉบับนี้ต้องตีความทั้งนั้น จึงออกมาเป็นกฎหมายปกติ ซึ่งเริ่มต้นเสนอเป็นพ.ร.บ. แต่ครม.เห็นว่าจำเป็นเร่งด่วน เพื่อประโยชน์สถานะทางเศรษฐกิจ จึงออกเป็นพ.ร.ก.โดยยุบรวมกฎหมาย 2 ฉบับ เพื่อให้บริการจัดการง่าย และเพิ่มโทษ รวมถึงเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่เคยตกลงกับไอยูยูไว้

 

ต่อข้อถามว่ากรณีนี้สะท้อนถึงความบกพร่องในการทำกฎหมายจนสร้างปัญหาหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่าอยากตอบ แต่ไม่ขอตอบ อย่างไรก็ตาม ความผิดที่ระบุในพ.ร.ก.นี้เหมือนกฎหมายเดิม แต่โทษมีความรุนแรงมากขึ้น และต้องกำชับว่าให้มีความรอบคอบในการทำกฎหมายที่ยังมีเล็ดลอดเกิดปัญหาออกมา เหมือนกับตำรวจพยายามทำเต็มที่ ผู้ร้ายก็ทำอีกอย่าง เช่นเดียวกับที่กฎหมาย ถ้าเขียนไว้ชัดเจน คนจะหาช่องแล้วมาบอกว่ากฎหมายมีช่องว่าง แสดงว่ากฎหมายมีข้อบกพร่องไม่ได้

 

ที่รัฐสภา กลุ่มผู้แปรรูปยางพาราและ ผู้ประกอบกิจการยางพารา จ.นครศรีธรรมราช จ.สุราษฎร์ธานี จ.กระบี่ และ จ.ตรัง ยื่นหนังสือต่อ พล.อ.สิงห์ศึก สิงไพร ประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สนช. เพื่อขอให้รัฐบาลขยายเวลาคุ้มครองชั่วคราว พ.ร.ก.ต่างด้าว

 

นายมนัส บุญพัฒน์ ตัวแทนกลุ่มกล่าวว่าการใช้พ.ร.ก.ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้แปรรูปยางพารา และกลุ่มผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก เนื่องจากจำเป็นต้องใช้แรงงานจากต่างประเทศ ส่งผลให้โรงงานปิดตัวไปแล้วถึงร้อยละ 50 พวกเราเข้าใจดีในเจตนารมณ์ของการบังคับใช้กฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติต้องใช้เวลาดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงขอเรียกร้องให้ขยายเวลาคุ้มครองแรงงานต่างด้าว และนายจ้างผู้ประกอบการที่กำลังดำเนินการให้ถูกต้องตามพ.ร.ก. ออกไป 90 วัน

 

ส่วนนายสังวรณ์ ลิปตพัลลภ นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย กล่าวว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างได้รับผลกระทบโดยตรงจากพ.ร.ก.ต่างด้าว เนื่องจากปัจจุบันใช้แรงงานต่างด้าว 40,000-80,000 คน ทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรือ 10-20 เปอร์เซ็นต์ ของแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างทั้งระบบ อยู่ที่ประมาณ 400,000 คน หลังกฎหมายมีผลบังคับแบบกะทันหัน ทำให้แรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างหายไปทันที 40,000-80,000 คน ส่งผลกระทบต่องานก่อสร้างภาพรวมของประเทศ ทั้งในส่วนของโครงการของรัฐบาลและเอกชนต้องล่าช้าออกไป อย่างต่ำ 3 เดือน กว่าที่จะหาแรงงานใหม่มาทดแทนได้ครบทั้งระบบ



02/Jul/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา