ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สนช.ผ่านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน -โลกวันนี้ 29 มิถุนายน 2560

ารประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันนี้(29 มิ.ย.) มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้วในวาระ 2 และ 3 ซึ่งพล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานกรรมาธิการวิสามัญฯ กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ใช้แรงงานและนายจ้างที่มีผลต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ กรรมาธิการฯ จึงพิจารณาปรับแก้ไข โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทุกภาคส่วน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ และผลประโยชน์ของทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคแรงงาน

 

พล.อ.สิงห์ศึก กล่าวว่า กฎหมายนี้มีทั้งสิ้น 7 มาตรา กรรมาธิการฯ แก้ไข 3 มาตราเพื่อประโยชน์แก่ผู้ใช้แรงงานเป็นหลัก เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่บังคับใช้มาเป็นเวลานาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เช่น แก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 87 เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างบางกลุ่มหรือบางประเภท เช่น นักเรียน นักศึกษา คนพิการ และผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครองแรงงาน แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 108 และมาตรา 110 ปรับปรุงเรื่องข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพื่อลดภาระของนายจ้าง

 

“มาตรา 118/1 ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการเกษียณอายุและการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเกษียณอายุเพื่อคุ้มครองลูกจ้างกรณีเกษียณอายุเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 144(1) การเพิ่มบทกำหนดโทษกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ พร้อมกับเพิ่มเติมบทบัญญัติ มาตรา 144 กำหนดโทษสำหรับนายจ้างที่ฝ่าฝืนไม่จ่ายค่าชดเชยเพราะเหตุเกษียณอายุ” พล.อ.สิงห์ศึก กล่าว

 

ทั้งนี้ ไม่มีสมาชิกสงวนคำแปรญัตติ โดยหลังการพิจารณาในวาระ 2 แล้ว ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบด้วยคะแนนเอกฉันท์ 208 เสียง ในวาระ 3 ให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป



02/Jul/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา