ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เสนอ ครม. ยุบเลิกกองทุนการออมแห่งชาติ พฤศจิกายนนี้

"คลัง" แย้มผลสรุปประชาพิจารณ์ "ประชาชน" ส่วนใหญ่เดินหน้าค้านร่าง พ.ร.บ. ยุบเลิก กอช. ชูความเห็นตามข้อเรียกร้องเดิมของกลุ่มแรงงานนอกระบบ

 

ด้าน สศค. เร่งสรุปชง "กิตติรัตน์" ยันหลักการความจำเป็นต้องยุบเลิกตามแนวคิดรมว. คลัง ที่อ้างความซ้ำซ้อน ประกันสังคมมาตรา 40 และลดงบประมาณ คาดเข้า ครม. ภายใน พ.ย. 56 นี้

 

แต่จะคลอดเป็นก.ม.ได้ช้า ไม่พ้นเป็นประเด็นโจมตีทางการเมืองต่อเนื่อง หลังจากกระทรวงการคลังขอรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติยุบเลิกกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. .... จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  ผ่านทางหน้าเว็บไซต์สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมานั้น

 

ความคืบหน้าประเด็นดังกล่าว  แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ผลสรุปประชาพิจารณ์เบื้องต้นพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่แสดงความไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.การยุบกองทุนการออมแห่งชาติ  พ.ศ. ...  เพราะเห็นว่า  พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ จะเป็นประโยชน์ต่อแรงงานนอกระบบมากกว่า ซึ่งประเด็นชี้แจงส่วนใหญ่เป็นไปตามข้อเรียกร้องของกลุ่มแรงงานนอกระบบเช่นที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องการส่งเสริมการออมของประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งไม่อยู่ในระบบการออมภาคบังคับ เพื่อเป็นหลักประกันรายได้ยามชรา       

 

อย่างไรก็ตาม  สศค.ได้สรุปความคิดเห็นดังกล่าวต่อร่าง พ.ร.บ.ยุบเลิกกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ...ทั้งหมด พร้อมกับยังคงยืนยันในหลักการความจำเป็นเดิมที่รัฐบาลต้องการยุบเลิก พ.ร.บ. กอช. ตามแนวคิดของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง ที่เห็นว่า พ.ร.บ. กอช. นั้น เป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน พ.ร.บ. ประกันสังคมมาตรา 40 คือมีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน และประกันสังคมมาตรา 40 ยังสามารถลดงบประมาณรายจ่ายภาครัฐได้เทียบเท่ากับ พ.ร.บ. กอช. ประมาณ 1 พันล้านบาทเช่นกัน                  

 

ทั้งนี้ สศค.ได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อ รมว. คลังพิจารณาแล้ว เพื่ออนุมัติและอยู่ระหว่างนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป หากมีความจำเป็นเร่งด่วน คาดว่าจะเข้า ครม. พิจารณาในสัปดาห์หน้าหรือภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ หลัง ครม. ผ่านร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้ว จะเสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาตีความแล้วนำเข้าสู่สภาพิจารณา ทั้งในชั้นสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป             

                                                                              

"การพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ยุบเลิก กอช. ดังกล่าว จะผ่านเป็นกฎหมายได้ไม่เร็วไปกว่าช่วงที่ผ่านกฎหมาย กอช. แน่นอน ซึ่งใช้เวลานานร่วมปี  โดยเชื่อว่าทางรัฐบาลจะไม่รีบนำร่าง พ.ร.บ. ยุบเลิก กอช. เสนอเข้าสภาช่วงนี้ เพราะอาจถูกฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นต่อเนื่องทางการเมืองในช่วงนี้  เนื่องจากกฎหมาย กอช.ที่ออกมานั้นถือเป็นเอกฉันท์ในรัฐบาลประชาธิปัตย์มาแล้ว ฉะนั้นการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ยุบเลิก กอช.ในชั้นสภา จะต้องถูกตั้งข้อโต้แย้ง โดยมองว่า การจะยุบกอช. ได้ต้องมีเหตุผลที่เพียงพอ"

 

 

ก่อนหน้านี้นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรมว.คลัง ยื่นฟ้อง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายสมชัย สัจจพงษ์ (ผอ.สศค.) ต่อศาลปกครองกลาง ฐานละเลยปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามมาตรา157 กรณีไม่เปิดรับสมาชิกเมื่อมีการประกาศใช้พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 หลัง 360 วัน นั่นคือ วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 แต่ยังไม่มีเกณฑ์กำหนดไต่สวนคดี

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,898  วันที่  21 - 23  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556

 

อ่านความคืบหน้าสถานการณ์การยุบกองทุนการออมเพิ่มเติม ณ เดือนตุลาคม 2556 กดตรงนี้

 

 ร่างพระราชบัญญัติยุบเลิกกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ...

 

.........................................................................................................................................

                  โดยที่เป็นการสมควรยุบเลิกกองทุนการออมแห่งชาติ                

...........................................................................................................................................................................................................................................................................

 

                  มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติยุบเลิกกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ....”

 

                  มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

                  มาตรา 3  ให้ยุบเลิกกองทุนการออมแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติพ.ศ. 2554

 

                 มาตรา 4 กองทุนการออมแห่งชาติซึ่งได้ถูกยุบเลิกตามมาตรา3 ให้ถือว่ายังคงอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี

 

                 มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งบุคคลขึ้นคณะหนึ่งจำนวนไม่เกินเจ็ด คน  เป็นคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีของกองทุนการออมแห่งชาติซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบ ด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลังและผู้แทนสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

                 

                 มาตรา 6 ให้คณะกรรมการชำระบัญชีได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนตามที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังกำหนดโดยจ่ายจากทรัพย์สินของกองทุนการออมแห่งชาติ

 

                มาตรา 7 ให้นำบทบัญญัติหมวด 5 ลักษณะ 22 ในบรรพ 3แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแก่อำนาจและหน้าที่ของคณะ กรรมการชำระบัญชีของกองทุนการออมแห่งชาติโดยอนุโลม

 

               มาตรา 8 ให้คณะกรรมการชำระบัญชีมีอำนาจดำเนินคดีแทนกองทุนการออมแห่งชาติสำหรับคดี ที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้โอนสิทธิและความรับผิดของกองทุน การออมแห่งชาติที่เกิดจากคดีดังกล่าวไปเป็นของคณะกรรมการชำระบัญชี

 

            มาตรา 9 เมื่อเสร็จการชำระบัญชีแล้ว ให้คณะกรรมการผู้ชำระบัญชีปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1)        เสนอ รายงานการชำระบัญชีภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่เสร็จการชำระบัญชีต่อรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาอนุมัติและเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบแล้ว ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ทั้งนี้ให้ถือว่าวันที่ประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี

(2)        โอนทรัพย์สินที่ ยังคงเหลือให้แก่กระทรวงการคลังส่วนเงินที่ยังคงเหลือให้นำส่งคลังเป็นราย ได้แผ่นดิน ทั้งนี้ต้องกระทำโดยไม่ชักช้า

(3)        มอบสมุดบัญชีและ เอกสารทั้งหมดของกองทุนการออมแห่งชาติให้แก่กระทรวงการคลังภายในสิบสี่วัน นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีและให้กระทรวงการคลังเก็บรักษาไว้สิบปี นับแต่วันดังกล่าว

สมุด บัญชีและเอกสารที่มอบให้แก่กระทรวงการคลังตามวรรคหนึ่ง (3)ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดูได้โดยไม่ต้องเรียกค่าธรรมเนียม

 

             มาตรา 10 พนักงานและลูกจ้างของกองทุนการออมแห่งชาติหากสมัครใจจะโอนไปปฏิบัติงานกับ สำนักงานประกันสังคมและได้แจ้งความจำนงเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาภายใน สิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้โอนพนักงานผู้นั้นไปเป็น พนักงานของสำนักงานประกันสังคม

 

             การโอนพนักงานตามวรรคหนึ่งให้ถือว่า เป็นการให้ออกจากงานเพราะเลิกหรือยุบตำแหน่งโดยให้มีสิทธิได้รับเงินชดเชย และผลประโยชน์ตามข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ. 2555และข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติว่าด้วยลูกจ้าง พ.ศ. 2555

 

              มาตรา 11 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

 

...............................................

นายกรัฐมนตรี

 

 

 

สาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติยุบเลิกกองทุนการออมแห่งชาติพ.ศ. ....

 

1.  มาตรา 3 ให้ยุบเลิก กอช.

2.  มาตรา 4 กอช. จะยังคงอยู่เท่าที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี

3.  มาตรา 5 รมว.กค. แต่งตั้งคณะกรรมการชำระบัญชีไม่เกิน 7 คนอย่างน้อยประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงการคลัง และผู้แทนสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

4.  มาตรา 6 คณะกรรมการชำระบัญชีได้รับเงินตอบแทนตามที่ รมว.กค. กำหนดและจ่ายจากทรัพย์สินของ กอช.

5.  มาตรา 7 ให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับเรื่องการชำระบัญชีกับอำนาจหน้าที่ผู้ชำระบัญชีกอช.

6.  มาตรา 8 ให้คณะกรรมการชำระบัญชีมีอำนาจดำเนินคดีทั้งที่ค้างอยู่ก่อนและเกิดขึ้นจากการยุบเลิกแทนกอช.

7.  มาตรา 9 เมื่อชำระบัญชีเสร็จแล้วให้

(1)        เสนอรายงานการชำระบัญชีต่อรมว.กค. เพื่อพิจารณาอนุมัติ และเสนอ ครม. เพื่อทราบ และประกาศราชกิจจานุเบกษา

(2)        โอนทรัพย์สินคงเหลือให้กระทรวงการคลังเงินที่เหลือส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

(3)        มอบสมุดบัญชี เอกสารทั้งหมดให้กระทรวงการคลังรักษาไว้ 10 ปี

8.  มาตรา10 พนักงานลูกจ้างของ กอช. จะโอนไปปฏิบัติงานที่สำนักงานประกันสังคมก็ได้ โดยแจ้ง      ความจำนงภายใน 15 วันนับจาก พรบ.ยุบเลิกฯมีผลใช้บังคับ โดยการโอนถือว่าให้ออกจากงานมีสิทธิได้รับชดเชยตามข้อบังคับที่ กอช.กำหนด

 

 

 



25/Nov/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา