ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
HR บริษัทแห่งหนึ่ง ถามมาว่า “จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย มีกรณีใดบ้าง” พบว่า มีคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ได้วางบรรทัดฐานเรื่องนี้ไว้ ดังนี้
(1) ความหมายของคำนี้ “จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย” หมายถึง ลูกจ้างได้กระทำโดยมีเจตนาหรือรู้สำนึกถึงการกระทำว่าจะเกิดผลเสียหายต่อนายจ้าง (8241/2544) แม้นายจ้างจะยังไม่ได้รับความเสียหายก็ตาม สามารถเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (7045/2546)
(2) อย่างไรก็ตามต้องพิเคราะห์ถึงลักษณะการกระทำ พฤติการณ์ของการกระทำ ผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำ ตลอดจนผลเสียหายที่เกิดจากการกระทำเป็นเรื่อง ๆ ไป มิใช่เกิดจากการกำหนดของนายจ้าง แม้ว่านายจ้างจะออกระเบียบ ข้อบังคับการทำงาน กำหนดลักษณะการฝ่าฝืนของลูกจ้างว่ากรณีใดร้ายแรง ก็ไม่ทำให้การฝ่าฝืนนั้นกลายเป็นกรณีร้ายแรงไปด้วย (1227/2535)
(3) ตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
• กระทำอนาจารต่อเพื่อนร่วมงาน (2290/2529) เอามือโอบไหล่ พูดขอหอมแก้ม (2029/2538)
• จัดซื้อสินค้าโดยไม่ได้สอบราคาและเปรียบเทียบราคาก่อนจัดทำใบสั่งซื้อ ทำให้นายจ้างต้องซื้อสินค้าในราคาสูงกว่าท้องตลาด (3554/2545)
• ใช้ตำแหน่งหน้าที่เรียกร้องเงิน (7106/2547)
• ดื่มสุราขณะปฏิบัติหน้าที่ (1416/2525)
• ตอกบัตรลงเวลาทำงานแทนพนักงานอื่นโดยไม่ตรงความจริง (2648/2525 ,3301/2529)
• ทำร้ายร่างกาย,ชกต่อยผู้บังคับบัญชาในระหว่างที่มีการประชุม (2030/2528 , 3639/2529 ,1848/2530)
• นัดหยุดงานโดยไม่ผ่านขั้นตอนตามกฎหมาย (2365/2527)
• นำใบรับรองแพทย์ปลอมมาแสดง (2334/2523)
• ประกอบธุรกิจแข่งขันกับนายจ้าง (239/2545 3862/2530)
• ผละงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้อง (3986 /2528)
• พูดจาก้าวร้าวหัวหน้าแผนกแล้วละทิ้งหน้าที่ไป (ที่ 2597/2529)
• ยุยงส่งเสริมให้เกิดความปั่นป่วนเกี่ยวกับการย้ายสถานประกอบการ (13587/2556)
• รายงานเท็จว่าได้ออกไปปฏิบัติงานโดยความจริงมิได้ออกปฏิบัติงานตามหน้าที่ (1532/2528)
• เรียกรับเงินจากผู้สมัครงานเป็นค่าตอบแทนในการช่วยให้เข้าเป็นลูกจ้าง (3723/2537)
• ลาป่วยเท็จ ผิดระเบียบของบริษัท (2125/2530)
• ลูกจ้างทะเลาะวิวาท ชกต่อย ทำร้ายร่างกายกันเองในเวลาทำงาน และอาจทำให้สินค้าเกิดความเสียหายได้ (973/2532)
• ลูกจ้างนำตัวเหี้ยไปผูกไว้ที่หน้าโรงงาน ปิดประกาศมีข้อความหยาบคาย ด่าดูหมิ่นเหยียดหยามขับไล่ผู้บังคับบัญชา (1507/2526)
• ลูกจ้างในแผนกเดียวกัน ระดับบังคับบัญชาเป็นชู้กับระดับใต้บังคับบัญชา แม้จะไม่ปรากฏว่าเกิดขึ้นในเวลาทำงาน เป็นการละเมิดต่อศีลธรรมอันดีอย่างร้ายแรง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการปกครองบังคับบัญชาของพนักงาน (5609/2542)
• ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับ ไม่ให้ยามรักษาการณ์ตรวจสอบก่อนออกนอกโรงงาน (568/2527)
• ลูกจ้างมีหน้าที่ควบคุมหม้อนํ้าชนิดไอนํ้า ละทิ้งหน้าที่ไปอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงขึ้นได้ (4290/2534)
• ลูกจ้างยืนสูบบุหรี่ข้างๆ กองกล่องกระดาษ ซึ่งมีกล่องกระดาษจำนวนมาก (3495/2526)
• ลูกจ้างออกจากโรงงานโดยไม่ขออนุญาต ทิ้งหน้าที่ไป 1 ชั่วโมงกลับเข้าโรงงานมาตอกบัตรลงเวลาทำงาน (แสดงว่าอยู่ทำงาน) (3438/2526)
• ลูกจ้างเอาใบเตือนไปจากการครอบครองของนายจ้าง โดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างนำใบเตือนมาคืน ลูกจ้างไม่ยอมนำมาคืน (5920/2534)
• เล่นการพนันในบริเวณบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเวลาในงานหรือนอกเวลา (1322/2532)
• หมิ่นประมาทนายจ้าง (287/2527 , 822/2536)
• สหภาพแรงงานออกหนังสือเวียนแจ้งให้ลูกค้าของนายจ้างทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคต จนเป็นเหตุให้ลูกค้าของนายจ้างงดใช้หรือเกิดความลังเลที่จะใช้บริการของนายจ้าง (3127/2525)
18 สิงหาคม 2560
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...