ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
ครม. ไฟเขียวเห็นชอบร่างกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2560 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ หลังจากกฎหมายฉบับเก่า ใช้มานานเกือบ 20 ปีแล้ว แรงงานในระบบจะได้รับสิทธิและสวัสดิการเพิ่มขึ้น
15 ส.ค.2560 พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสาระสำคัญของร่างกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2560 ว่ามีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการแก่ลูกจ้างมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกำหนดให้นายจ้างที่ผิดนัดการจ่ายเงินแก่ลูกจ้าง โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วย มีการกำหนดให้ลูกจ้างชายและหญิง หากทำงานในประเภทเดียวกัน มีปริมาณงานและคุณภาพของงานรูปแบบเดียวกัน ต้องได้รับค่าจ้างเท่าเทียมกันโดยไม่แบ่งเพศ กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ลากิจธุระจำเป็น โดยได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี โดยได้รับค่าจ้าง
กำหนดให้ลูกจ้างสามารถลาตรวจครรภ์ ทั้งหมด 90 วัน ก่อนคลอดบุตรได้ โดยได้รับค่าจ้าง 45 วัน กำหนดอัตราค่าชดเชยเพิ่มเติมกรณีที่นายจ้างเลิกจ้าง ซึ่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดว่า หากทำงานครบ 10 ปี ให้รับค่าจ้างชดเชย 300 วัน แต่ร่างกฎหมายฉบับปัจจุบันระบุว่า หากทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ให้รับค่าชดเชยไม่ต่ำกว่าค่าจ้างอัตราสูงที่สุด จำนวน 400 วัน
ทั้งนี้พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 นั้นใช้มาเป็นเวลานาน และไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน กระทรวงแรงงานจึงได้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ขึ้น
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...