ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน จี้นายกฯ เร่งเสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานกับสนช. ให้ทันประกาศใช้ในปี 60 ระบุกฎหมายใหม่พัฒนาชีวิตแรงงาน - เดลินิวส์ 16 ตุลาคม 2560

เมื่อวันที่ 16 ต.ค. เวลา 09.30 น. ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ฝั่ง ก.พ.) นายมนัส โกสน ประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) พร้อมกับตัวแทนองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (อรท.) กับเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.)  สภาองค์การลูกจ้าง สหพันธ์แรงงาน สหภาพแรงงาน คนทำงานยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้นายกฯ เร่งเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. …. ที่ผ่านมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ผ่านมาต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อเป็นของขวัญกำลังใจให้กับผู้ใช้แรงงาน และให้มีผลบังคับทันใช้ในปี 2560

 

โดยนายมนัส กล่าวว่า  ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมีสาระสำคัญ และลูกจ้างทั่วประเทศให้ความสนใจอย่างมาก เช่น การเพิ่มค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง ที่มีอายุงานครบ 20 ปี ให้มีสิทธิได้รับค่าชดเชย 400 วันของค่าจ้างอัตราสุดท้าย ให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระที่จำเป็นโดยได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานในแต่ละปี ลูกจ้างหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร และเพื่อคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 90 วัน และนายจ้างย้ายสถานประกอบการไม่ว่าย้ายไปแล้ว จะอยู่จะมีหรือไม่มีก็ตาม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้างและครอบครัว ลูกจ้างสามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้และมีสิทธิได้รับเงินชดเชย ซึ่งร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว จะเป็นการเพิ่มสิทธิประโยชน์และสร้างความเป็นธรรมกับลูกจ้างที่ทำงานเป็นเวลานาน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ขณะเดียวกันอยากให้มีตัวแทนของแรงงานเข้าไปร่วมในคณะกรรมาธิการที่จะตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณากฎหมายฉบับนี้ในอนาคตด้วย เพื่อความเป็นธรรมในการพิจารณาเพื่อให้เกิดความสมดุลและได้รับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงมากที่สุด ซึ่งอัตราที่เหมาะสมคือควรมีภาคส่วนแรงงานในคณะกรรมาธิการ 2-3 คน” นายมนัส กล่าว. 
 



18/Oct/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา