ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
หลายๆคนมีความกังวลว่า ลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องภายหลังได้ยื่นข้อเรียกร้องแล้วจะได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์หรือไม่
ในประเด็นนี้ศาลฏีกาได้มีคำพิพากษาเป็นแนวทางไว้ดังนี้ครับ
คำพิพากษาฎีกาที่ 1615/2545
โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องฉบับลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2542 แต่โจทก์ลงลายมือชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องมีการเจรจาและตกลงกันได้
ทั้งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มิได้ห้ามลูกจ้างลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องเพิ่มเติม จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง
ดังนั้นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องยอมมีผลผูกพันโจทก์ตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องในเวลาใดก่อนที่ข้อเรียกร้องนั้นจะตกลงกันได้ (จนเกิดเป็นข้อตกลงสภาพการจ้าง) ข้อตกลงนั้นก็จะผูกพันผู้ที่ลงชื่อทุกคน รวมทั้งกฎหมายยังคุ้มครองห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างด้วยครับ
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...