ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
จำเลยเป็นเทศบาลนครศรีธรรมราช มีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยเป็นหน่วยงานของรัฐสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย นาย ว. ผู้ตายเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งสอง
เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 16 มีนาคม 2549 ระหว่างเวลา 18 ถึง 21 นาฬิกา จำเลยจัดให้มีการแข่งขันกีฬาชุมชนครั้งที่ 4 ที่สนามบาสเก็ตบอลบริเวณสนามหน้าเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผู้ตายเป็นผู้สมัครเข้าร่วมแข่งขันกีฬาฟุตซอล ต่อมาวันที่ 28 มกราคม 2549 เวลา 21 นาฬิกาเศษ ระหว่างที่มีการแข่งขันกีฬาฟุตซอล ผู้ตายขึ้นไปบนอัฒจันทร์ มีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลมาตามรั้วเหล็กของอัฒจันทร์ช็อตผู้ตายได้รับบาดเจ็บสาหัสและถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2549
บิดามารดาของผู้ตายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 2,950,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจากต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจะกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
เมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้วและสืบพยานโจทก์และสืบพยานจำเลยเสร็จ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน 1,266,123 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ ขณะเดียวกันจำเลยก็ยื่นอุทธรณ์ด้วย ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน
จำเลยยื่นฎีกาว่า จำเลยเป็นผู้ขอใช้และดูแลสนามบาสเก็ตบอลซึ่งเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างเวลา 18 ถึง 21 นาฬิกา ไม่ใช่เป็นการรับมอบอาคารสนามบาสเก็ตบอลซึ่งรวมถึงไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพมาครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง
ทั้งเคยมีเหตุไฟฟ้ารั่วมาก่อนการแข่งขันแล้วจึงเป็นความบกพร่องขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เจ้าของอาคารที่เกิดเหตุตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง
ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่จำเลยใช้สถานที่คือสนามกีฬาบริเวณสนามหน้าเมืองมาจัดการแข่งขัน ซึ่งประกอบด้วยสนามที่ใช้ในการแข่งขัน รวมถึงอัฒจันทร์ที่ให้ผู้เข้าชมการแข่งขัน รวมทั้งนักกีฬาใช้เป็นที่นั่งชมการแข่งขันหรือทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันกีฬา
จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยในระหว่างที่มีการแข่งขันกีฬา รวมถึงการดูแลความปลอดภัยให้นักกีฬาตลอดถึงคนที่เข้าชมการแข่งขันโดยเฉพาะในการแข่งขันกีฬา
ครั้งที่เกิดเหตุ มีการแข่งขันกีฬาในช่วงเย็นไปถึงค่ำระหว่างเวลา 18 ถึง 21 นาฬิกา ย่อมมีความจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้แสงสว่างตลอดระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งกระแสไฟฟ้านั้นเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ
เมื่อกระแสไฟฟ้าช็อตผู้ตายที่อาคารอัฒจันทร์ที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองดูแลรับผิดชอบอยู่ในระหว่างการแข่งขันกีฬาที่จำเลยเป็นผู้จัดขึ้น จำเลยก็ต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่กระแสไฟฟ้า เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง
ที่จำเลยอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยนำสืบได้เพียงว่า ก่อนเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบแล้วไม่มีส่วนชำรุดบกพร่องของกระแสไฟฟ้าในส่วนของอาคารอัฒจันทร์ ซึ่งข้อนำสืบดังกล่าวมิได้แสดงว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
สำหรับกรณีที่ผู้ตายใช้น้ำราดตัวจนเปียกก็ได้ความว่าเป็นเพราะผู้ตายเป็นผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาฟุตซอล หลังการแข่งขันกีฬาแล้วผู้ตายใช้น้ำราดตัวเพื่อให้สดชื่นหายเหนื่อย เมื่อผู้ตายจับราวเหล็กของอาคารอัฒจันทร์แล้วถูกกระแสไฟฟ้าช็อตจึงถึงไม่ได้ว่าเป็นความผิดของผู้ตาย
ดังนั้น จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในเหตุที่เกิดขึ้น ศาลฎีกาพิพากษายืนให้จำเลยชดใช้เงิน 1,266,123 บาทแก่โจทก์ทั้งสอง
อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกา 3686/2556
click อ่านได้ที่นี่...
อ่านข่าวแรงงาน CLICK ที่นี่...
อ่านข่าว click ที่นี่...
อ่านข่าวมติชน click ที่นี่...
อ่านรายชื่อได้ที่นี่...
ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67 &nb...
CLICK ที่นี่...
ค้นหากดที่นี่...
CLICK ที่นี่...