ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2558 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ฎีกา

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2558 ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาว่าคดีที่ได้ยื่นฎีกาใดสมควรอนุญาตให้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกา

 

โดยมีสาระสำคัญ คือ

 

1.ให้ยกเลิกมาตรา 223 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534

 

2.กำหนดหลักเกณฑ์การฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และกำหนดเวลาในการขออนุญาตฎีกา

  • การฎีกาคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ ให้กระทําได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
  • การขออนุญาตฎีกา ให้ยื่นคําร้องพร้อมกับคําฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งในคดีนั้น ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ แล้วให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคําร้องพร้อมคําฟ้องฎีกาดังกล่าวไปยังศาลฎีกา และให้ศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยคําร้องให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

 

3.กำหนดหลักเกณฑ์การวินิจฉัยคำร้องตามมาตรา 247 รวมถึงวิธีการในการยื่นคำร้อง การพิจารณาคำร้อง การตรวจรับฎีกา การแก้ฎีกา การพิจารณาและการพิพากษาคดี รวมทั้งการสั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียม ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศาลฎีกา

 

4.กำหนดหลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้ฎีกาเมื่อเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฏีกาควรวินิจฉัย

 

5.กำหนดให้คดีที่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาที่มีแต่เฉพาะปัญหากฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ศาลฎีกาจะมีคำวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายนั้นและยกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์หรือศาลชั้นต้น แล้วมีคำสั่งให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลชั้นต้น แล้วแต่กรณี ทำคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ภายใต้กรอบคำวินิจฉัยของศาลฎีกาก็ได้

 

6.กำหนดให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยการอุทธรณ์มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ไม่มีข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ตามมาตรา 250 กำหนดไว้

 

อ่านพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฉบับเต็มได้ที่นี่

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2558

 

อ่านสาระสำคัญที่แก้ไขและขั้นตอนการฎีกา click ที่นี่



18/Nov/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 2567 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา